logo
เขต

ทำไมผู้หญิงเกาหลีถึงไม่เปลี่ยนนามสกุลตามสามี

ทำไมผู้หญิงถึงไม่เปลี่ยนไปใช้นามสกุลของสามีหลังแต่งงาน แม้ว่าจะมีการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายก็ตาม

마타티카
a year ago

ธรรมเนียมแต่งงานเกาหลี

สวัสดีค่ะทุกคน! พวกเรา Creatrip ศูนย์รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวเกาหลีที่อัพเดทโดยคนเกาหลีในทุก ๆ วัน


#วัฒนธรรมเกาหลี #คนเกาหลี

#แต่งงาน #ธรรมเนียมแต่งงาน

#นามสกุลเกาหลี


การแต่งงานถือเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญที่คนเกาหลีให้ความสำคัญมากๆทุกขั้นตอน แต่มีสิ่งหนึ่งที่ธรรมเนียมการแต่งงานของคนเกาหลีแตกต่างจากของไทยนั้นก็คือ "การเปลี่ยนนามสกุล" ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันตั้งแต่สมัยโชซอนค่ะ

วันนี้เรามาดูที่มาของธรรมเนียมการไม่เปลี่ยนนามสกุลหลังแต่งงานของคนเกาหลีกันค่ะ



🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube 

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี


ทำไมคนเกาหลีไม่เปลี่ยนนามสกุลหลังแต่งงาน

ประวัติศาสตร์ธรรมเนียมการแต่งงานของเกาหลี

วัฒนธรรมเกาหลี


การแต่งงานของคนเกาหลีตั้งแต่สมัยโบราณเป็นแบบ "혼약" (ฮนยัก) คือการแต่งงานที่ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้องกัน และอีกสิ่งหนึ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของการแต่งงานคือ 서옥제  (ซออกเจ) นั้นก็คือบ้านหลังเล็กที่จะถูกสร้างขึ้นในเขตบ้านของเจ้าสาวที่จะถูกจะใช้เป็นเรือนหอของคู่แต่งงานค่ะ

ธรรมเนียมนี้มีมาตั้งแต่สมัยโกรยอ (고구려) โดยก่อนแต่งงานฝ่ายชายต้องมาคุกเข่าเพื่อขอให้พ่อแม่ฝ่ายหญิงอนุญาตเรื่องการแต่งงานถึง 3 ครั้ง และเมื่อครอบครัวฝ่ายหญิงอนุญาต 서옥제  (ซออกเจ) จะถูกสร้างขึ้นหลังบ้านของเจ้าสาว โดยถือเป็นสัญลักษณ์ของการแต่งงานค่ะ


วัฒนธรรมเกาหลี

cr. 중학교 역사


สมัยก่อนผู้ชายเกาหลีที่จะแต่งงานจะใช้คำว่า "장가간다" (จังกาคันดา) ซึ่งคำว่า 장가 (จังกา) มาจาก 장인의집 (จังอินเอจิบ) ซึ่งแปลว่า บ้านของพ่อตา โดยคู่แต่งงานจะต้องอาศัยอยู่ที่ 서옥제  (ซออกเจ) เป็นเวลาประมาณ 10 ปีหรือจนกว่าลูกๆจะโต หลังจากนั้นฝ่ายชายจะสามารถพาภรรยาและลูกๆไปที่บ้านของตัวเองได้ค่ะ นอกจากนั้นฝ่ายหญิงจะใช้นามสกุลของต้นตระกูลเดิมหลังแต่งงานค่ะ

หลายคนอาจคิดว่าธรรมเนียมการแต่งงานนี้ถือเป็นการให้เกียรติฝ่ายหญิง แต่ความจริงแล้วธรรมเนียมมีนัยยะที่ซ่อนถึงความสำคัญของเพศชายอยู่ค่ะ


วัฒนธรรมเกาหลีcr. 네이버 지식백과


เริ่มต้นจากธรรมเนียม 서옥제  (ซออกเจ) ที่ฝ่ายชายต้องมาอาศัยที่บ้านฝ่ายหญิงก็มีสาเหตุหลักคือ "แรงงานการเกษตร" เพราะถ้าหากฝ่ายชายพาฝ่ายหญิงไปบ้านของตัวเองทันทีหลังแต่งงานจะทำให้ครอบครัวของฝ่ายหญิงขาดแรงงานในการทำการเกษตรค่ะ

รวมถึงการใช้นามสกุลของต้นตระกูลเดิมหลังแต่งงาน ก็ถือเป็นอีกหนึ่งการให้ฐานะทางสังคมสำหรับบ้านผู้หญิง เป็นการแสดงความเคารพสายเลือดของบิดาของฝ่ายหญิง ซึ่งตั้งแต่โบราณคนเกาหลีให้ความสำคัญกับการสืบเชื้อสายทางสายเลือดมากๆ โดยถือว่าสกุลที่สืบเชื้อสายมาจากบิดาจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เกิดจนตายค่ะ


ผู้หญิงเกาหลีเคยเปลี่ยนนามสกุลตามสามีหรือไม่?

วัฒนธรรมเกาหลี

 ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา cr.ildaro


แม้ว่าธรรมเนียมการใช้สกุลเดิมแม้ว่าแต่งงานแล้วของคนเกาหลีจะมีมาตั้งแต่โกรยอโกรยอ (고구려) แต่โชซอนประมาณปี 1940 ที่ญี่ปุ่นเข้ามามีบทบาทควบคุมคาบสมุทรเกาหลี ได้นำวัฒนธรรมญี่ปุ่นหลายอย่างมาบังคับใช้ที่เกาหลี รวมถึงการเปลี่ยนนามสกุลตามสามีหลังแต่งงานด้วยค่ะ

แต่หลังจากที่อำนาจของญี่ปุ่นในคาบสมุทรล่มสลายไป ทางเกาหลีได้นำธรรมที่ถือปฎิบัติกันมาอย่างยาวนานกลับมาใช้อีกครั้งจนถึงปัจจุบันนี้ค่ะ


ข้อดีของการไม่เปลี่ยนนามสกุล

ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงเอกสาร

การแต่งงานเกาหลี


ข้อดีแรกของการไม่เปลี่ยนนามสกุลก็คือผู้หญิงที่แต่งงานแล้วไม่จำเป็นต้องแก้ไขข้อมูลหรือเอกสารใดๆเลยไม่ว่าจะเป็น บัตรประชาชน,พาสปอร์ต หรือข้อมูลทางราชการ แต่อาจมีเพิ่มเติมคือการจดทะเบียนสมรสเท่านั้น

ซึ่งถือเป็นเรื่องดีมากๆ เพราะไม่ต้องเสียเวลาดำเนินการใดๆ ซึ่งก็อาจมีประโยชน์สำหรับบางคู่ที่หย่าร้างกัน ฝ่ายหญิงก็ไม่จำเป็นต้องทำเรื่องเพื่อเปลี่ยนนามสกุลกลับคืนค่ะ


ถือเป็นการให้เกียรติซึ่งกันและกัน, รักษาความเป็นส่วนตัว

ซีรีส์เกาหลี


เพราะเกาหลีไม่มีกฎหมายใดๆเกี่ยวกับการเปลี่ยนนามสกุลหลังจากแต่งงาน ดังนั้นฝ่ายหญิงก็ยังคงสามารถใช้นามสกุลเก่าของตนเอง ถือเป็นการให้เกียรติครอบครัวฝ่ายหญิง เพราะตามหลักแล้วฝ่ายชายจะไม่มองว่าฝ่ายหญิงเป็น "ทรัพย์สมบัติของตนเอง" 

โดยสมัยก่อนการแต่งงานฝ่ายชายจะมอบเพียงเนื้อหมูและเหล้าเป็นของขวัญแต่งงานเท่านั้น โดยฝ่ายบ้านผู้หญิงจะไม่รับของขวัญเป็นเงินหรือของมีค่า เพราะถ้ารับจะทำให้รู้สึกเหมือน "ขายลูกสาว" ค่ะ นอกจากนั้นเพราะไม่ต้องเปลี่ยนนามสกุลทำให้คนภายนอกไม่รู้ว่าผู้หญิงคนนั้นแต่งงานแล้วหรือไม่ ถ้าดูจากชื่อค่ะ


แล้วจะรู้ได้ไงว่าแต่งงาน?

เพราะหลังแต่งงานผู้หญิงเกาหลีไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนนามสกุล หรือมีขั้นตอนพิเศษใดๆเพื่อบ่งบอกว่าแต่งงาน ดังนั้นคนเกาหลีส่วนใหญ่จึงให้ความสำคัญกับ "พิธีแต่งงาน" มากๆ เพราะถือเป็นการประกาศว่าพวกเขาแต่งงานแล้วค่ะ

ซึ่งส่วนใหญ่จะเชิญญาติ, เพื่อนสนิท หรือคนรอบๆข้างมาร่วมงานเพื่อเป็นประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน แต่สำหรับคนอื่นๆที่ไม่ได้มาร่วมงานจะรู้ได้อย่างไร?

สังเกตจากแหวน

แหวนคู่เกาหลี


คู่แต่งงานส่วนใหญ่จะสวมแหวนแต่งงาน เพื่อเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกว่าพวกเขาแต่งงานกันแล้วและถือเป็นการให้เกียรติอีกฝ่ายด้วยค่ะ ดังนั้นหากต้องการทราบว่าผู้หญิงหรือผู้ชายเกาหลีคนไหนแต่งงานแล้ว สิ่งแรกที่ควรสังเกตคือ "แหวนแต่งงาน" ค่ะ


คาดเดาจากอายุ

ซูจี


แม้ว่าตอนนี้อัตราการแต่งงานของคนเกาหลีจะลดต่ำลง และอายุเฉลี่ยนของการแต่งงานจะเพิ่มมากขึ้น แต่ถ้าย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 20-30 ปีก่อน อายุเฉลี่ยของคนเกาหลีที่จะแต่งงานคือ 25-27 ปี ดังนั้นสำหรับคนสูงอายุเมื่อเจอคนที่อายุประมาณ 25-27 ปีหรือมากกว่าก็มักจะคาดเดาว่า "แต่งงานแล้ว" ค่ะ

จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยถ้าคุยกับคนเกาหลีแล้วถูกถามเรื่องอายุ คำถามต่อไปก็คือ "แต่งงานแล้วหรือยัง?" ค่ะ  



นี่ก็คือธรรมเนียมการใช้นามสกุลเดิมแม้ว่าแต่งงานแล้วของคนเกาหลี ซึ่งตอนนี้ผู้หญิงไทยก็เริ่มที่จะใช้นามสกุลเดิมแม้ว่าจะแต่งงานแล้วด้วย สำหรับทุกคนคิดว่าถ้าแต่งงานแล้วอยากใช้นามสกุลเดิมหรือเปล่าคะ?


🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube 

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี

ยอดเข้าชมมากที่สุด

ยอดเข้าชมมากที่สุด