logo

การพัฒนาแบบก้าวกระโดดของหนังเกาหลี

ทำไมช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมาหนังเกาหลีถึงประสบความสำเร็จแบบก้าวกระโดดและสามารถคว้างรางวัลออสการ์?

Yeong
2 years ago

ภาพยนตร์เกาหลี Train to busan และ Parasite

สวัสดีค่ะทุกคน! พวกเรา Creatrip ศูนย์รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวเกาหลีที่อัพเดทโดยคนเกาหลีในทุก ๆ วัน


#หนังเกาหลี #การสนับสนุน

#รัฐบาลเกาหลี #รางวัลออสการ์


กระแสความนิยมของภาพยนตร์เกาหลีได้รับความนิยมในต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เมื่อมองกลับไปเมื่อช่วงก่อนหน้านี้มีภาพยนตร์เข้าฉายในเกาหลีใต้จำนวนนับไม่ถ้วนและประสบความสำเร็จในบ็อกซ์ออฟฟิศ อะไรคือเคล็ดลับที่ทำให้ภาพยนตร์เกาหลีประสบความสำเร็จแบบก้าวกระโดด?


 🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube 

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี


ประวัติศาสตร์วงการภาพยนตร์เกาหลี

ภาพยนตร์เกาหลีก่อนและหลังสงครามเกาหลี

สงครามเกาหลี


เริ่มแรกปูซานและแดกูเป็นศูนย์กลางของภาพยนตร์ต่างประเทศที่ถูกนำเข้ามาเพื่อให้ผู้ชมรู้สึกสบายใจจากความเหน็ดเหนื่อยจากสงครามเกาหลี 625

หลังจากสิ้นสุดสงครามเกาหลี (การพักรบ) อุตสาหกรรมภาพยนตร์ก็เติบโตขึ้นเรื่อยๆ และย้ายไปรวมตัวกันที่บริเวณ "ชองมูโร" (Chungmuro) ในกรุงโซล โรงภาพยนตร์และบริษัทได้นำเข้าภาพยนตร์ต่างประเทศเพิ่มขึ้นทุกปีโดยสร้างระบบที่สามารถระดมทุนในการผลิต จัดจำหน่าย  ทำให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลียังเติบโตในเวลานั้นและยุคใหม่ของภาพยนตร์เกาหลีได้เริ่มต้นขึ้น


สงครามเกาหลี

ภาพยนตร์เรื่อง Obaltan (오발탄) 

ขณะที่วัฒนธรรมอเมริกันและวัฒนธรรมตะวันตกหลั่งไหลเข้าสู่เกาหลีใต้ ภาพยนตร์ฮอลลีวูดได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของภาพยนตร์เกาหลี ส่งผลให้เนื้อหา, การแต่งหน้า, ภาพตัวละครหรือ แม้กระทั่งธีมและภูมิหลังของภาพยนตร์เกาหลีในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นละครโรแมนติก คอมเมดี้ แต่ตั้งแต่ปี 1960 ภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับครอบครัว ความขัดแย้งค่อยๆได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง และการเสียดสีทางการเมืองก็กลายเป็นกระแสใหม่เช่นกัน

เมื่อปี 1960  ขบวนการประชาธิปไตยของเกาหลีใต้ได้เกิด "การปฏิวัติ 19 เมษายน" และ "รัฐประหาร 5.16" ทำให้มีการนำเสนอภาพยนตร์เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การหย่าร้าง เรื่องที่สะท้อนความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นในสังคมเกาหลี ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงของสังคมเกาหลี


ภาพยนตร์เกาหลีถูกระงับเนื่องจากการพัฒนานโยบาย 

ภาพยนตร์เกาหลีเรื่อง Love Me Once Again

ภาพยนตร์เกาหลีเรื่อง Love Me Once Again

"กฎหมายภาพยนตร์" ได้ประกาศใช้เมื่อปี 1962 ซึ่งเสนอแนวทางในการปกป้องและดูแลภาพยนตร์เกาหลี แต่ในขณะเดียวกันก็มีการควบคุมและการเซ็นเซอร์อย่างเข้มงวด โดยพิจารณาจากการผลิตการต่อต้านคอมมิวนิสต์และจำนวนรางวัล การจัดสรรรายได้จากการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจากภาพยนตร์ถูกใช้เป็นโควตา นโยบายนี้ยังคงใช้จนถึงช่วงทศวรรษ 1980 ซึ่งแย่งชิงรายได้ของบริษัทผู้ผลิตและเสรีภาพในการสร้างสรรค์

แม้จะมีการกดขี่และนโยบายจากลัทธิเผด็จการ แต่ภาพยนตร์ในยุคนี้ก็ยังถูกถ่ายทำด้วยเรื่องราวที่หลากหลาย เนื่องจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความทันสมัยในประเทศเกาหลี สถานการณ์จึงค่อนข้างคงที่ มีภาพยนตร์หลายประเภท ได้แก่ ประเภทหลัก ได้แก่ :

ประวัติศาสตร์, คอมเมดี้, โรแมนติกที่แสดงถึงธีมดั้งเดิม, เยาวชน, ภาพยนตร์แอ็คชั่นระทึกขวัญ, ภาพยนตร์นักดาบที่เสี่ยงต่อการถูกควบคุม และภาพยนตร์นโยบายสำหรับโควตาเช่น ภาพยนตร์ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์, ภาพยนตร์วรรณกรรม และอื่นๆ 

เนื่องจากภาพยนตร์เยาวชน, แอ็คชั่น และนักดาบที่วัยรุ่นชื่นชอบเป็นประเภทที่รัฐบาลควบคุมได้ง่าย จากผลการสำรวจพบว่าสัดส่วนคนวัย 20 ปีที่ดูหนังต่างประเทศ (50%) สูงกว่ามาก ภาพยนตร์เกาหลี 14.7% แต่คนค่อนข้างหัวโบราณที่มีอายุมากกว่า 50 ปีชอบดูหนังเกาหลีมากกว่า (61.6%)

หมายเหตุ: Love Me Once Again เป็นหนังรักร่วมสมัยที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด  


ยุคสมัยที่ภาพยนตร์เกาหลีตกต่ำ (유신시대) 

กล้องวิดีโอสำหรับถ่ายทำหนังเกาหลีสมัยก่อน


เมื่อปี 1972 ประธานาธิบดีพัค ชองฮี ได้แก้ไขกฎหมายและเปิดสาธารณรัฐยุคที่ 4 ซึ่งเป็น "ยุคแห่งการฟื้นฟู"

หลังจากช่วงปี 1960 ภาพยนตร์เกาหลีก็ค่อยๆ ลดลงเนื่องจากความนิยมของโทรทัศน์ มีความบันเทิงที่เพิ่มขึ้นและคุณภาพของภาพยนตร์ที่ลดลง และด้วยการเซ็นเซอร์ที่เข้มงวดและอิทธิพลของนโยบาย เผด็จการแห่งยุคปฏิรูปได้ทำให้ภาพยนตร์ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ (ที่สามารถผ่านการเซ็นเซอร์ได้) ภาพยนตร์หลายเรื่องที่ดัดแปลงมาจากนวนิยายยอดนิยมจึงได้รับความนิยมค่อยๆ ปรากฏในภาพยนตร์


คนนั่งชมภาพยนตร์เกาหลีผ่านทางโทรทัศน์

cr. 백세시대

การเกิดขึ้นของโทรทัศน์มีผลกระทบต่อภาพยนตร์เกาหลีมาก : โทรทัศน์เริ่มมีในเกาหลีใต้เมื่อปี 1965 โดยมีอัตราการเข้าชมเพียง 0.61% แต่ในปี 1979 ได้เพิ่มขึ้นเป็น 79.1%

ในช่วงนี้ยังมีบันทึกภาพยนตร์เกาหลีหลายเรื่องเช่น ปี 1968 ภาพยนตร์แบบไลฟ์เรื่องแรกที่ถูกบันทึก และมีผู้กำกับภาพยนตร์รุ่นใหม่เริ่มเกิดขึ้น, ภาพยนตร์เกี่ยวกับโรงเรียนมัธยมดึงดูดความสนใจของนักเรียนมัธยมปลายให้มาที่โรงหนัง (แต่ต่อมากลายเป็นภาพยนตร์ที่ไม่ใช่กระแสหลัก) อย่างการผลิตภาพยนตร์ต่อต้านคอมมิวนิสต์ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในประวัติศาสตร์ค่ะ


แสงแห่งความหวัง...กับการแข่งขันกับภาพยนตร์ต่างประเทศ

การถ่ายทำหนังเกาหลีสมัยก่อน

cr. 오마이뉴스

ช่วงทศวรรษ 1980 หลังจากปราบปรามขบวนการทางสังคมที่โหดร้ายที่สุด ช่องว่างทางการเมืองเกาหลีใต้เริ่มมีช่องทางข้างหน้าสำหรับภาพยนตร์ โดยมีภาพยนตร์เนื้อหาหลากหลายอย่างประวัติศาสตร์, สังคม, เพศ และประเด็นอื่นๆ เมื่อเปรียบเทียบจะเห็นความแตกต่างชัดเจนกับภาพยนตร์เกาหลีเรื่องก่อนๆ โดยปล่อยให้มีอิสระและไม่ถูกจำกัด

นี่เป็นจุดเริ่มต้นของคลื่นลูกใหม่ของเกาหลี (Korean New Wave) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการผสมผสานจิตวิญญาณของภาพยนตร์และอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ย่านชองมูโร ได้สร้างภาพยนตร์ที่โดดเด่นนับไม่ถ้วน


สถานีรถไฟใต้ดินชุงมูโร


โทรทัศน์สีเริ่มมีในเกาหลีเมื่อปี 1980 และโรงหนังก่อตั้งขึ้นในปี 1981 และยกเลิกเคอร์ฟิวในปี 1985 เพื่อให้สังคมมีอิสระภาพ ขณะเดียวกันได้มีการจัดตั้งทีมเบสบอลมืออาชีพ เอเชี่ยนเกมส์จนถึงโอลิมปิกโซลปี 1988 และต่อมาก็มีกระแสของคนรุ่นใหม่ได้กำหนดรูปแบบความเป็นไปได้ใหม่ของภาพยนตร์

แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอุตสาหกรรมภาพยนตร์จริงๆ คือการแก้ไข "กฎหมายภาพยนตร์" ครั้งที่ 5 และ 6 ในปี 1984 และ 1985 เนื่องจากสหรัฐฯ ต้องการการเปิดเสรีของตลาดภาพยนตร์เกาหลีและกดดันให้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างสิทธิพิเศษของโควตานำเข้าแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและโควตารายได้ 

โดยภาพยนตร์อเมริกันจะสามารถเข้าสู่เกาหลีใต้โดยไม่จำเป็นต้องผ่านตัวแทนจำหน่ายภาพยนตร์อีกต่อไป แต่มีการคัดกรองโดยตรง ส่งผลให้ปริมาณการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและผู้นำเข้าภาพยนตร์เพิ่มขึ้นอย่างมาก และภาพยนตร์เกาหลีก็เริ่มขึ้นต้องเผชิญกับภาพยนตร์ต่างประเทศ

ตั้งแต่ปี 1988 ถึง 1993 สาขาของบริษัท 20th Century Fox และ Warner Bros. ได้ก่อตั้งขึ้นในเกาหลีใต้ ผลงานของภาพยนตร์เรื่องแรกคือบ็อกซ์ออฟฟิศทำลายพื้นที่ของภาพยนตร์เกาหลี นี่เป็นช่วงเวลาที่เกาหลีใต้เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย นอกจากนั้นวัฒนธรรมตะวันตกก็เข้าถึงเกาหลีมากขึ้น ส่งผลให้ภาพยนตร์เกาหลีซบเซาในช่วงกลางทศวรรษ 1990

ในช่วงทศวรรษ 1990 ทีมผู้สร้างภาพยนตร์ในประเทศเริ่มต่อต้านและชุมนุมครั้งใหญ่ โดยเรียกร้องให้รัฐบาลออกมาช่วยเหลือภาพยนตร์ของประเทศ


ความปั่นป่วนของภาพยนตร์เกาหลียุค 90

กีฬาโอลิมปิกปี 1988 Summer Olympic

1988 Summer Olympic 

หลังจากประเทศเปิดตัวเป็นประชาธิปไตย ภาพยนตร์อเมริกันก็สามารถจัดจำหน่ายและฉายได้โดยตรงในประเทศเกาหลี ทำให้สัดส่วนของภาพยนตร์เกาหลีในช่วงต้นทศวรรษ 1980 อยู่ที่ประมาณ 40% แต่ในปี 1993 ลดลงเหลือเพียง 15.9% โดยประมาณปี 1990 มีภาพยนตร์เกาหลีเพียง 100 ถึง 120 เรื่อง และจำนวนภาพยนตร์ลดลงเหลือ 43 เรื่องในปี 1998 เนื่องมาจากถูกแทนที่ด้วยภาพยนตร์ต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นทีละน้อย จนมากถึง 405 เรื่องในปี 1996

หลังจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กรุงโซลเมื่อปี 1988 Samsung, LG และ Daewoo ได้ตั้งเป้าไปที่ตลาดอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ขณะเดียวกันทุนทางการเงินก็เข้าสู่อุตสาหกรรมภาพยนตร์และโทรทัศน์ด้วย ภาพยนตร์เรื่องแรกที่อุตสาหกรรมการเงินเข้ามาลงทุนถูกสร้างเมื่อปี 1995  

นับแต่นั้นเป็นต้นมาบริษัทขนาดใหญ่จำนวนมากได้เข้าสู่อุตสาหกรรมภาพยนตร์และเข้าร่วมในการลงทุน นอกจากนี้อุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลีได้เริ่มมีเหล่าดารา, การปรับปรุงการตลาดและการส่งเสริมการขาย รวมถึงกลยุทธ์ภาพยนตร์ฮอลลีวูดอื่นๆ ผ่านการลงทุนในการผลิตภาพยนตร์เชิงพาณิชย์ 


ผู้กำกับอี ชังดง (이창동)

ผู้กำกับอี ชังดง (이창동)

ในช่วงทศวรรษ 1990 ที่มี "ผู้กำกับนักเขียนบท" ปรากฏตัวขึ้น ฮง ซังซู, พัค ชังอุ, คิม กีดอก , อี ชังดงและคนอื่น ๆ ได้เปิดตัวผลงานอย่างต่อเนื่องกลายเป็นหนึ่งในผู้กำกับที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์เกาหลีสมัยใหม่ 

เมื่อปี 1995ได้มีการ "พระราชบัญญัติส่งเสริมภาพยนตร์" โดยกำหนดให้โรงหนังเกาหลีแต่ละโรงฉายภาพยนตร์เกาหลีอย่างน้อย 146 วันต่อปี ถ้าฝ่าฝืนจะเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ต่อมานโยบายนี้มีการเปลี่ยนแปลงและได้รับผลกระทบจากภาพยนตร์เกาหลี โดยมีการตั้ง "กลุ่มตรวจสอบโควตาหน้าจอ (스크린쿼터감시단)" และเริ่มยื่นคำร้องถึงล้านคนเมื่อปี 1999 เพื่อให้มั่นใจว่าภาพยนตร์เกาหลีจะได้เข้าฉาย


กลุ่มผู้เรียกร้องโควต้าภาพยนตร์เกาหลีเมื่อปี 1999

กลุ่มผู้เรียกร้องโควต้าภาพยนตร์เกาหลีเมื่อปี 1999

เนื่องสาเหตุนี้จึงมีการเปิดเทศกาลภาพยนตร์ปูซานเมื่อปี 1996 เพื่อส่งเสริมภาพยนตร์เกาหลีให้กับผู้ชมและต่างประเทศ และยังอนุญาตให้ภาพยนตร์ศิลปะและภาพยนตร์เชิงพาณิชย์มีเวทีแสดงผลงาน และทำให้คนเกาหลีตระหนักถึงความยิ่งใหญ่ของหนังเกาหลีมากขึ้น


ภาพยนตร์เกาหลีในปัจจุบัน 

โรงหนัง


นโยบายของภาพยนตร์เกาหลีเปลี่ยนแปลงเป็น "การสนับสนุน" นอกจากนี้ในปี 1997 ระบบการเซ็นเซอร์ถูกยกเลิกและ "ระบบการให้คะแนนการคัดกรอง (상영등급제)" มีการเปลี่ยนแปลง การเซ็นเซอร์เนื้อหาบางส่วนได้เพิ่มเสรีภาพในการสร้างสรรค์ รวมถึงการลงทุนขององค์กร, การนำโครงสร้างพื้นฐานโรงละครไปใช้และการพัฒนาเทคโนโลยีและเทคโนโลยีซึ่งสร้างความหลากหลายให้กับเกาหลี

จนกระทั่งช่วงปลายทศวรรษ 1990 เมื่อภาพยนตร์เกาหลีเริ่มฉายแววและแข็งแกร่งขึ้น 

แม้ว่าในช่วงครึ่งหลังของยุค 2000 โควตาการออกอากาศภาพยนตร์เกาหลียังไม่เป็นกระแส โดยลดลงครึ่งหนึ่งเหลือ 73 วัน แต่การวางรากฐานในปี 1990 ยังคงทำให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลีมีพื้นที่เกือบครึ่งหนึ่ง (หรือมากกว่าครึ่ง) ของส่วนแบ่งการตลาด


ภาพยนตร์เรื่อง Parasite

ภาพยนตร์เรื่อง Parasite 

ภาพยนตร์เรื่อง Minari

ภาพยนตร์เรื่อง Minari 

ทุกวันนี้ภาพยนตร์เกาหลีก็มีฉายในโรงภาพยนตร์จำนวนมาก ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาได้สร้างสถิติบ็อกซ์ออฟฟิศมากมายและมีผู้ชมหลายล้านสิบล้านคน และยังติดอันดับที่หนึ่งระดับโลก อย่างเช่นเรื่อง Parasite ที่คว้าออสการ์ และนักแสดงยุน ยอจอง ก็ได้รับรางวัลออสการ์สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยมจากเรื่อง Minari 



นี่คือเรื่องราวของภาพยนตร์เกาหลีที่สามารถประสบความสำเร็จในปัจจุบันนี้ค่ะ ใครที่ยังไม่ได้ติดต่อภาพยนตร์เกาหลีเรื่องไหนสามารถหามาดูได้ค่ะ


 🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube 

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี

ยอดเข้าชมมากที่สุด

LoadingIcon
ยอดเข้าชมมากที่สุด