logo

พื้นที่พิเศษในเกาหลี

เชื่อหรือไม่? ที่เกาหลีมีพื้นที่พิเศษที่ห้ามเด็ก, Youtuber, หรือแม้แต่ผู้นับถือศาสตร์คริส!

Jihyun Lee
3 years ago

cr. 익스트림무비, 한국일보

สวัสดีค่ะทุกคน! พวกเรา Creatrip ศูนย์รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวเกาหลีที่อัพเดทโดยคนเกาหลีในทุก ๆ วัน


#วัฒนธรรมเกาหลี #คนเกาหลี

#เที่ยวเกาหลี #โซน


คนที่เคยมาเที่ยวเกาหลีน่าจะต้องเคยเข้าร้านอาหารหรือคาเฟ่กันทุกคน แล้วเคยสังเกตเห็น NO ○○ ZONE ซึ่งถือเป็นโซนพิเศษที่ห้ามบุคคลบางกลุ่มเข้าเช่น เด็กหรือแม้แต่ Youtuber ค่ะ 

วันนี้เรามาดูกันว่าที่เกาหลีมี NO ○○ ZONE ไหนบ้างที่น่าสนใจและน่าประหลาดใจค่ะ 



  🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube 

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี



NO ○○ ZONE

วัฒนธรรมเกาหลี



NO ○○ ZONE ถือเป็นพื้นที่พิเศษที่มีในพื้นที่สาธารณะ เช่น คาเฟ่หรือร้านอาหารบางแห่งก็มี NO ○○ ZONE เหมือนกันค่ะ โดยส่วนใหญ่จะแปะประกาศที่หน้าร้านเป็นการห้ามบุคคลบางกลุ่มเข้าใช้บริการค่ะ  


วัฒนธรรมเกาหลี

출처: NEWS1


แม้ว่า NO ○○ ZONE จะไม่ได้เป็นกฎหมาย แต่เป็นเพียงข้อห้ามที่กำหนดขึ้นเฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น โดยพื้นที่พิเศษนี้เริ่มเกิดขึ้นเมื่อปี 2014 และกลายเป็นประเด็นถกเถียงในสังคมเกาหลีค่ะ

ต่อไปเราจะมาแนะนำ NO ○○ ZONE ที่มีในประเทศเกาหลีว่ามีอะไรบ้าง ? 


ประเภทของ NO ○○ ZONE 

โซนต้องห้ามสำหรับเด็ก (No Kids Zone)

คาเฟ่เกาหลี

cr. 주간현대


No Kids Zone เป็นพื้นที่ห้ามเด็กที่อายุต่ำกว่า 13 ปีตามอายุเกาหลี (12 ปี) เข้าใช้บริการ ถือเป็น NO ○○ ZONE แรกๆที่เกิดขึ้นและแพร่กระจายในเกาหลีค่ะ ซึ่งไม่ได้รวมกับร้านเหล้าหรือสถานบันเทิงที่เด็กห้ามเข้าตามกฎหมาย แต่หมายถึงพื้นที่ร้านอาหาร, คาเฟ่หรือโรงภาพยนตร์ทั่วไปค่ะ

No Kids Zone เกิดขึ้นเมื่อปี 2014 ในเขตฮงแด, คังนัม และพื้นที่ร้านเหล้าในโซล รวมไปถึงสถานที่ท่องเที่ยวดังๆอย่างปูซานและเกาะเชจูค่ะ 


ร้านอาหารเกาหลี

cr. 일요서울


No Kids Zone เกิดขึ้นเนื่องจากเหตุการณ์เมื่อปี 2012 โดยมีคุณแม่คนหนึ่งบ่นบนอินเตอร์เน็ตว่าลูกของเธอได้รับบาดเจ็บที่หน้าในร้านอาหาร จากซุปร้อนๆที่ผู้หญิงคนหนึ่งถือ ทำให้ผู้หญิงคนนั้นได้รับคำพิพากวิจารณ์บนโลกอินเตอร์เน็ตค่ะ


คาเฟ่เกาหลี

cr. 동아 DB


แต่หลังที่ภาพจากกล้อ CCTV ถูกเผยแพร่สถานการณ์ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป เพราะความจริงคือเด็กคนดังกล่าววิ่งเล่นในร้านอาหารและไปชนกับผู้หญิงที่ถือถ้วยซุปอยู่ค่ะ

เมื่อผู้คนเห็นภาพก็รู้สึกตกใจมากที่เด็กวิ่งไปมาในพื้นที่สาธารณะ โดยที่ผู้ปกครองไม่ได้จัดการอะไรเลย แถมยังโกรธเมื่อลูกของตัวเองได้รับบาดเจ็บค่ะ


เด็กเกาหลี


นอกจากนั้นยังมีเหตุการณ์ที่ผู้ปกครองปล่อยให้เด็กวิ่งเล่น หรือกรีดร้องไปทั่ว รวมถึงผู้ปกครองบางคนก็เปลี่ยนผ้าอ้อมกลางคาเฟ่หรือร้านอาหาร ทำให้เกิด No Kids Zone ขึ้นค่ะ 

เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เด็กส่งเสียงรบกวนหรือเกิดอุบัติเหตุ ส่วนใหญ่ความรับผิดชอบจะตกเป็นของเจ้าของร้าน ดังนั้นจึงมีคนมากมายที่สนับสนุนให้มี No Kids Zone ค่ะ




เด็กเกาหลี


แต่ก็มีหลายคนที่บอกว่า No Kids Zone เป็นการเลือกปฎิบัติและไม่ยุติธรรมสำหรับเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ โดยอ้างว่าทุกคนล้วนเคยเป็นเด็กมาก่อน และการใช้ชีวิตในสังคมเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการเติบโตของเด็ก แล้วทุกคนคิดยังไงคะ? 


พื้นที่ต้องห้ามสำหรับวัยรุ่น

วัยรุ่นเกาหลี


No Youth Zone เป็นพื้นที่ที่ห้ามเด็กชั้นมัธยมต้นและมัธยมปลายเข้าใช้บริการค่ะ 

ที่ปูซานมีคาเฟ่แห่งหนึ่งที่เป็น No Youth Zone โดยมีประกาศเขียนว่า "เมื่อเร็วๆนี้มีเด็กมัธยมมาใช้บริการแต่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมทั้งสูบบุหรี่, ถุยน้ำลายลงพื้น และใช้คำหยาบคาย เพื่อบรรยากาศที่ดีของร้านจึงไม่อนุญาตให้เด็กมัธยมเข้าใช้บริการ "ค่ะ


วัยรุ่นเกาหลี

cr. 익스트림무비


วัยรุ่นส่วนใหญ่โดยเฉพาะเด็กผู้ชายจะชอบรวมกลุ่มกัน และเมื่อเข้าใช้บริการสถานที่ต่างๆมักจะยึดโต๊ะ หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น สูบบุหรี่ หรือรบกวนแขกคนอื่นๆ ดังนั้นจึงมีบางพื้นที่ไม่อยากให้บริการเด็กวัยรุ่นค่ะ 

โดยผู้ที่เสนอกฎนี้ได้อ้างว่าเป็นการปกป้องสิทธิ์ของเจ้าของร้านและแขกคนอื่นๆ ดังนั้นเด็กที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมก็ไม่ควรเข้าใช้บริการเพราะพวกเขาก็ไม่ได้แสดงถึงมารยาทแต่แรกค่ะ


วัยรุ่นเกาหลี


แต่ในทางตรงกันข้าม เด็กที่มีพฤติกรรมดีทั้งหมดก็ได้รับผลกระทบต่อกฎนี้เช่นกัน และบอกว่าเยาวชนเหล่านี้ควรได้รับการปฏิบัติที่ดีกว่านี้ โดยไม่มีการเหมารวมแบบนี้ค่ะ 


พื้นที่ต้องห้ามสำหรับการเรียน 

คาเฟ่เกาหลี

cr. 식품외식경영


No Study Zone เป็นโซนพิเศษที่มีในคาเฟ่ โดยปกติเด็กเกาหลีมักจะออกมานั่งอ่านหนังสือกันที่คาเฟ่จนมีคำที่เรียกกันว่า "คากงจก" (카공족) โดยเป็นสไตล์การเรียนที่อยู่ในพื้นที่สาธารณะและมีเสียงเล็กน้อยค่ะ 

นอกจากนั้นร้านคาเฟ่ในเกาหลีส่วนใหญ่มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการเรียน เช่น ปลั๊กไฟและ Wi-Fi ที่เร็วและสะดวกมาก คาเฟ่ขนาดใหญ่ใกล้มหาวิทยาลัยและสถานศึกษาสอบรับราชการจะมีคนอ่านหนังสือเยอะมากๆ และมีหลายคาเฟ่ที่ทำการตกแต่งบรรยากาศที่เหมาะกับการเรียนค่ะ 


คาเฟ่เกาหลี


แต่สำหรับคาเฟ่ทั่วไปที่มีลูกค้าเข้าออกเป็นประจำ และมีพื้นที่ไม่มากที่จะให้คนมานั่งแช่เป็นเวลานานๆเหมือนกับคนที่มาอ่านหนังสือค่ะ 

แต่ก็มีคนที่มาอ่านหนังสือ 2-3 ชั่วโมงแต่สั่งเครื่องดื่มแค่อย่างเดียว ทำให้ร้านคาเฟ่ได้รับผลกระทบและอาจทำให้ลูกค้าประจำที่ต้องการสั่งเครื่องดื่มปกติลดลงได้ค่ะ


คาเฟ่เกาหลี


นอกจากนั้นยังมีคนที่ไปอ่านหนังสือ ร้องเรียนลูกค้าคนอื่นว่าส่งเสียงดังรบกวนการอ่านหนังสือด้วยค่ะ

แต่ในทางตรงกันข้ามเหล่าคนที่ต้องการนั่งอ่านหนังสือในคาเฟ่ก็บอกว่าไม่ยุติธรรมเพราะพวกเขาก็จ่ายเงินเหมือนกัน แต่ก็มีหลายคนที่ไม่สั่งอะไรเลยหรือไม่ก็สั่งแค่ของราคาถูกที่สุดซึ่งรบกวนทั้งลูกค้าคนอื่นและระบบของร้านด้วยค่ะ


พื้นที่ต้องห้ามสำหรับ Youtuber 
ร้านอาหารเกาหลี

ประกาศด้านบนเขียนว่า "ร้านนี้ไม่อนุญาติให้มีการถ่ายทำหรือไลฟ์สดขณะกินอาหาร เพราะรบกวนการรับประทานอาหารของลูกค้าคนอื่น" ความจริงการถ่ายทำของ Youtuber หรือการไลฟ์สดถือเป็นการโปรโมทร้านอาหารแต่ทำไมถึงมีพื้นที่ต้องห้ามสำหรับเหล่า Youtuber ? 


ร้านอาหารเกาหลี


ร้านอาหารที่มีการถ่ายทำโดย Youtuber มักจะได้รับความนิยมมากขึ้น แต่ปัญหาคือเหล่า YouTuber และ BJ บางคนถ่ายวิดีโอโดยไม่ได้ขออนุญาต ทำให้ลูกค้าและพนักงานได้รับผลกระทบ ไม่เพียงแต่ส่งเสียงดังขณะออกอากาศและรบกวนเวลารับประทานอาหารของผู้อื่นค่ะ 

และยังถ่ายทำในครัวหรือมีภาพของแขกคนอื่นๆ ผู้ใช้ YouTube บางคนขอทานอาหารฟรีโดยอ้างว่าเป็นการประชาสัมพันธ์ค่ะ


ร้านอาหารเกาหลี

cr. 세계일보


หลายๆคนพอใจกับ No Youtuber Zone เพราะไม่เพียงแต่จะสร้างความเสียหายให้กับร้านเท่านั้นแต่ยังสร้างความเสียหายต่อลูกค้าประจำอีกด้วยค่ะ แต่ผู้ใช้ YouTube บางคนโต้แย้งว่าการอนุญาตให้ผู้คนถ่ายรูปอาหารและอัปโหลดไปยังโซเชียลก็ไม่ต่างกัน โดยบอกว่า No Youtuber Zone เป็นการเลือกปฏิบัติค่ะ

 

No Believer Zone

cr. 뉴시스


No Believer Zone  เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้วจากเหตุการณ์โควิดค่ะ เมื่อประมาณเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคมเกิดการแพร่ระบาดระลอกที่ 1 เกิดขึ้นในเกาหลีและครั้งที่ 2 ประมาณเดือนสิงหาคม-กันยายน ซึ่งทั้ง 2 ครั้งเกิดจากการรวมตัวของโบสถ์ในเกาหลีค่ะ 

โดยครั้งที่ 1 เกิดจากโบสถ์ชินซอนจิ ครั้งที่ 2 เกิดจากโบสถ์แคชิน ซึ่งขณะนั้นคนเกาหลีต่างร่วมมือกันในการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด แต่เพราะสมาชิกของโบสถ์ที่ฝ่าฝืนทำให้เกิดการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ค่ะ 


ศาสนา

cr. 뉴스핌, 오마이뉴스


ทำให้ภาพลักษณ์ของสมาชิกโบสถ์คริสต์เตียนในเกาหลีกลายเป็นลบในสายตาคนเกาหลี และก็เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นซ้ำๆ ทำให้ร้านอาหารที่อยู่ใกล้กับโบสถ์ห้ามไม่ให้สมาชิกโบสถ์เข้าใช้บริการค่ะ 


จุดประสงค์ของ NO ○○ ZONE 

1. อิสระในการทำธุรกิจ 

มารยามเกาหลี


NO ○○ ZONE ของทั้งเด็ก, วัยรุ่น, ผู้อ่านหนังสือ, เหล่ายูทูปเบอร์หรือแม้แต่ผู้ศรัทธา เกิดขึ้นเพื่ออิสระในการทำธุรกิจของผู้ประกอบการ รวมทั้งเป็นการปกป้องเจ้าของร้าน เนื่องจากพวกเขาเหล่านั้นสามารถสร้างความเสียหายด้านจิตใจให้กับเจ้าของธุรกิจได้ค่ะ  


มารยามเกาหลี


นอกจากนี้ตามมาตรา 15 ของรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐเกาหลีรับรองเสรีภาพในการทำธุรกิจ รวมถึงการเลือกอาชีพ เนื่องจากรัฐธรรมนูญเป็นพื้นฐานของกฎหมายทั้งหมดจึงเป็นการรับประกันเสรีภาพในการทำธุรกิจในเกาหลี แม้ว่าะทำ NO ○○ ZONE ก็ไม่สามารถคัดค้านได้ค่ะ


2. สิทธิของลูกค้า 

มารยามเกาหลี


เมื่อปี 2019 Trend Monitor บริษัทวิจัยตลาดทำการสำรวจเกี่ยวกับเขตห้ามเด็กในผู้ใหญ่ 1,000 คนทั่วประเทศ 6 ใน 10 คนหรือ 66.1% กล่าวว่าพวกเขาสนับสนุน No Kids Zone และ 75.3% (อาจตอบซ้ำกันได้) ตอบว่า "ในฐานะแขก คุณมีสิทธิ์ที่จะไม้ต้อรู้สึกอึดอัดหรือได้รับความเสียหาย"


มารยามเกาหลี


ตัวอย่าง เช่น No Kids Zone จะเห็นว่าไม่เพียงแต่ผู้ประกอบธุรกิจเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบแต่รวมถึงลูกค้าทั่วไปที่ต้องทนทุกข์จากความไม่สะดวกด้วย ดังนั้น NO ○○ ZONE จึงเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ของลูกค้าประจำรายอื่นๆค่ะ 


3. การเพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภค

มารยามเกาหลี


บางคนเชื่อว่าการแพร่กระจายของ NO ○○ ZONE เป็นการเพิ่มทางเลือกสำหรับผู้บริโภคค่ะ

ตัวอย่างเช่น ผู้ที่ชื่นชอบคาเฟ่ที่มีเสียงดังสามารถเลือกคาเฟ่ No Study Zone และผู้ที่ชื่นชอบคาเฟ่ที่เงียบสงบสามารถเลือกร้านกาแฟอื่นที่ไม่ใช่ No Study Zone ได้ หรือถ้าต้องการไปร้านอาหารที่ปลอดภัยในกรณีที่เกิดการระบาดของโคโรนาที่เกิดจากคริสตจักรก็สามารถเลือกร้านอาหาร No Believer Zone ได้ค่ะ


การต่อต้าน NO ○○ ZONE 

1. การเลือกปฏิบัติต่อคนบางกลุ่ม 

วัฒนธรรมเกาหลี


บรรดาผู้ที่ต่อต้าน NO ○○ ZONE อ้างว่า NO ○○ ZONE เป็นการเลือกปฏิบัติและสร้างความเกลียดชังได้ ในปี 2017 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของเกาหลีได้วินิจฉัยว่า No Kids Zone เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรตามอายุ แม้ว่าจะมีการรับประกันเสรีภาพในการดำเนินธุรกิจแต่ต้องมีเหตุผลสมควรที่จะแยกกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งออกจากการใช้บริการค่ะ


วัฒนธรรมเกาหลี

cr. 뉴시스


ยกตัวอย่าง เช่น พื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ ที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันสุขภาพของคนอื่นๆ แต่ผู้ชายเกาหลีมีแนวโน้มที่จะสูบบุหรี่มากขึ้น การที่สร้างโซนที่ปลอดบุหรี่ก็คงสร้างความไม่พอใจไม่น้อยเลยใช่ไหมคะ? 


วัฒนธรรมเกาหลี


มีคนที่โต้แย้งว่าการเลือกปฏิบัติอย่างชัดเจน ทำให้คนบางกลุ่มถูกกีดกันจากการใช้บริการเพียงเพราะว่าอยู่ในกลุ่มๆนั้นแม้จะไม่ทำอะไรเลยก็ตามค่ะ 


2. การสร้างความเกลียดชังให้กับคนบางกลุ่ม 

วัฒนธรรมเกาหลี


NO ○○ ZONE กำลังถูกเชื่อมต่อกันในสังคมที่ถูกปิดกั้นจากกลุ่มคนบางกลุ่ม เด็กทุกคนไม่ได้ตะโกนในที่สาธารณะ นักเรียนมัธยมต้นและปลายไม่ได้มีพฤติกรรมแย่ๆทุกคนค่ะ

ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีความขัดแย้งทางสังคม พวกเขาจะไม่แก้ไขแต่าจะตัดและปิดกั้นอย่างการใช้ NO ○○ ZONE เพราะฉะนั้นภายในสังคมนั้นจะถูกแบ่งแยกเป็นพวกพ้องค่ะ


วัฒนธรรมเกาหลี

cr. 대구신문


ด้วยเหตุผลนี้ร้านอาหารบางร้านจึงใช้คำว่า "NO bad parent ZONE" มากกว่า "No Kids Zone" โดย No bad parent Zone คือการปฏิเสธผู้ปกครองที่ละเลยการอบรมแก่บุตรหลานอย่างเหมาะสมเกี่ยวกับมารยาทและการปฎิบัติตัวค่ะ

โดยคนส่วนใหญ่มองว่า NO bad parent ZONE แสดงออกได้ดีกว่า No Kids Zone มาก เพราะเป็นการยอมรับความผิดพลาดที่เด็กๆ ทำได้ในกระบวนการเติบโตโดยไม่เลือกปฏิบัติ และเน้นย้ำว่าความผิดไม่ได้อยู่ที่ตัวเด็กแต่อยู่กับผู้ปกครองที่ไม่ได้ควบคุมดูแลค่ะ



วัฒนธรรมเกาหลี

นี่ก็คือเรื่องราว NO ○○ ZONE ในเกาหลี ทุกคนเห็นด้วยกับแนวคิดนี้หรือเปล่าคะ? ถ้าเป็นไปได้อยากให้ประเทศไทยของเรามี NO ○○ ZONE สำหรับกลุ่มไหนบ้าง?


  🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube 

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี

ยอดเข้าชมมากที่สุด

LoadingIcon
ยอดเข้าชมมากที่สุด