logo

คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการรีไซเคิลขยะของเกาหลี

การรีไซเคิลและการแยกขยะอย่างเคร่งครัดของคนเกาหลีจะต้องทำยังไงนะ?

Hyejoo Ro
2 years ago

คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการรีไซเคิลขยะของเกาหลี

สวัสดีค่ะทุกคน! พวกเรา Creatrip ศูนย์รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวเกาหลีที่อัพเดทโดยคนเกาหลีในทุก ๆ วัน


#นโยบายการรีไซเคิล #การแยกขยะ

#การทิ้งขยะที่เกาหลี #รีไซเคิล

  

วันนี้เราจะมาพาทุกคนไปเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการรีไซเคิลขยะของเกาหลีกันค่ะ! ด้วยจำนวนผู้คนบนโลกที่เพิ่มสูงขึ้น จึงมีการสร้างขยะเพิ่มขึ้นตามมา ดังนั้นนโยบายการรีไซเคิลจึงมีความสำคัญมากขึ้นเพื่อส่งเสริมสังคมที่ยั่งยืนนั่นเองค่ะ แน่นอนว่าเกาหลีก็เป็นหนึ่งในประเทศที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก โดยประชากรส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในโซล และเนื่องจากสังคมที่กำลังเติบโตนี้รัฐบาลจึงวางนโยบายส่งเสริมการรีไซเคิลและการแยกขยะอย่างเคร่งครัดนั่นเองค่ะ   

 

  

🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube 

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี


ความสำคัญและประวัติความเป็นมาของการรีไซเคิล


โซลเป็นเมืองใหญ่และมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องค่ะ ก่อนที่จะมีการกำหนดนโยบายการรีไซเคิล (재활용품) ขึ้นมานั้น ขยะทั้งหมดในโซลจะถูกนำไปฝังกลบหรือถูกเผาค่ะ จากรูปภาพด้านล่างทุกคนก็จะเห็นใช่มั้ยคะว่าขยะที่มีอยู่ในบ้านรวมถึงผลิตภัณฑ์ที่รีไซเคิลได้จะถูกส่งไปยังโรงขยะและนำไปเผาทั้งหมดเลยล่ะค่ะ


schematic in korean of how waste was disposed of (incineration) prior to recycling policies )


อย่างไรก็ตามวิธีการกำจัดขยะแบบเผาหรือฝังกลบนั้นค่อนข้างเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมค่ะ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องมีแนวทางแก้ไขที่ดีกว่าในการจัดการขยะใช่มั้ยละคะ? ซึ่งนโยบายการรีไซเคิลก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงปี 1990 และนโยบายหลายอย่างเหล่าก็นี้ขับเคลื่อนโดยกระทรวงสิ่งแวดล้อมของเกาหลีนั่นเองค่ะ


korea ministry of environment logo


ทางออกหนึ่งในการจัดการขยะให้ดีขึ้นก็คือระบบ Volume-Based Waste Fee (VBWF) ที่เริ่มใช้งานในปี 1995 ค่ะ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของขยะที่พวกเขาสร้างขึ้น โดยข้อกำหนดหลัก ๆ ของนโยบายนี้ก็คือประชาชนจะต้องซื้อถุงขยะที่กำหนดสำหรับขยะประเภทใดประเภทหนึ่งนั่นเองค่ะ

นโยบายการกำจัดขยะและการรีไซเคิลที่เข้มงวดมากขึ้นในตอนแรกนั้นไม่ได้รับการตอบรับที่ดีเท่าไหร่จากสาธารณชน เนื่องจากแนวทางหลายอย่างยังคงคลุมเครือและไม่ชัดเจนนั่นเองค่ะ



แต่ตอนนี้ชาวเกาหลีก็สามารถปรับตัวให้เข้ากับนโยบายเหล่านี้ได้ดีมากขึ้นค่ะ ดังนั้นตอนนี้การแยกขยะจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของคนเกาหลีไปแล้วล่ะค่ะ ซึ่งถือได้ว่าเป็นข้อดีมาก ๆ เพราะเป็นการทำเพื่อประโยชน์ของสังคมและสิ่งแวดล้อมนั่นเองค่ะ

ขยะทั้งหมดรวมถึงขยะรีไซเคิลได้รับการคัดแยกและส่งไปที่โรงงานรีไซเคิล ในขณะที่เศษอาหารจะถูกส่งไปเป็นปุ๋ยหรืออาหารสัตว์ค่ะ  

updated schematic that breaks down how much of a certain type of waste has been produced as of 2018 in Seoul.


แผนผังด้านบนจะแสดงรายละเอียดและจำนวนของขยะบางประเภทที่ผลิตในปี 2018 ค่ะ มีขยะปกติ 3,033 ตันต่อวัน, ขยะรีไซเคิล 3,641 ตันต่อวัน, และเศษอาหาร 2,810 ตันต่อวันค่ะ


workers at korean recycling plant sorting through recyclable materials from yonhap newsSource: Yonhap News


แม้ว่านโยบายเหล่านี้จะช่วยลดภาระด้านสิ่งแวดล้อม แต่ก็ยังมีปัญหาอยู่บ้างในปัจจุบันค่ะ ปัญหาใหญ่ที่สุดที่เมืองโซลเผชิญก็คือผู้คนไม่ล้างขยะหรือวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้นั่นเองค่ะ เมื่อผลิตภัณฑ์มีเศษอาหารเหลืออยู่ก็จะไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ค่ะ   

ดังนั้นเพื่อเพิ่มอัตราการรีไซเคิล จึงจำเป็นต้องทำความสะอาดผลิตภัณฑ์อย่างเหมาะสมก่อนทิ้งด้วยนะคะ ซึ่งการเพิ่มอัตราการรีไซเคิลก็จะช่วยป้องกันการสูญเสียทรัพยากรนั่นเองค่ะ   



การกำจัดของเสีย


ระบบ VBWF จะมีถุงขยะเฉพาะสำหรับขยะแต่ละประเภทค่ะ ประเภททั่วไป ได้แก่ เศษอาหาร (음식물쓰레기), ขยะรีไซเคิล (재활용품), ขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิล / ขยะปกติ (일반쓰레기), และขยะขนาดใหญ่นั่นเองค่ะ 

โดยทุกบ้านในเกาหลีจะต้องทิ้งขยะลงในถุงขยะที่กำหนดไว้ หากใครนำขยะใส่ถุงพลาสติกสีดำทั่วไปแล้วเอาไปทิ้งก็อาจจะถูกปรับได้นะคะ ซึ่งระบบถุงขยะนั้นออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาขยะในเกาหลีโดยเฉพาะเลยล่ะค่ะ

การให้ประชนชนทิ้งขยะลงในถุงที่กำหนดก่อนจะนำออกมาทิ้งนั้นสามารถลดปริมาณขยะและส่งเสริมการใช้วัสดุรีไซเคิลได้มากยิ่งขึ้น สำหรับใครที่ทิ้งขยะโดยใช้ถุงที่กำหนดอย่างถูกต้องแล้วนั้นก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินเพิ่มใด ๆ จะมีก็แค่ค่าถุงขยะเท่านั้นเองค่ะ

อย่างไรก็ตาม ชาวต่างชาติที่ไม่คุ้นเคยกับระบบถุงขยะแบบนี้ก็อาจจะรู้สึกงงในตอนแรก ดังนั้นเพื่อให้คุ้นเคยกับระบบนี้ เราก็มาเริ่มด้วยการดูว่าถุงขยะหน้าตาเป็นยังกันดีกว่าค่ะ!



ถุงขยะที่ใช้ก็จะเป็นถุงขยะเฉพาะสำหรับแต่ละเขตด้วยนะคะ ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้ถุงขยะของเขตอื่นได้ค่ะ ตัวอย่างเช่น หากอาศัยอยู่ในเขตคังนัม ก็ไม่สามารถใช้ถุงขยะจากเขตมยองดงได้นั่นเองค่ะ โดยเราสามารถซื้อถุงขยะเหล่านี้ได้ที่ร้านขายของชำทั่วไปในพื้นที่ของแต่ละเขตค่ะ หรือจะเป็นร้านค้าหรือร้านสะดวกซื้อก็ได้เช่นกัน ซึ่งราคาของถุงขยะจะแตกต่างกันไปตามภูมิภาคและขนาดของถุง รวมถึงการใช้เงินสดหรือบัตรซื้อถุงขยะก็มีผลต่อราคาเช่นกันค่ะ

โดยทั่วไปถุงขยะขนาดปกติหนึ่งใบ (20 ลิตร) จะมีราคา 480 วอน ส่วนถุงขยะสำหรับใส่เศษอาหารจะมีขนาดเล็กกว่า (3 ลิตร) มีราคาประมาณ 300 วอนค่ะ นอกจากนี้ถุงขยะก็มักจะมีสีแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค และในส่วนของถุงขยะทั่วไปก็จะใช้ถุงสีขาวเกือบทั้งหมดค่ะ

ภาพด้านล่างเป็นถุงขยะธรรมดา (일반쓰레기) สำหรับทิ้งขยะในเขต Seocho-gu นั่นเองค่ะ


regular trash bag for seocho-gu (district) in seoul, south korea


ภาพด้านล่างเป็นถุงขยะสำหรับทิ้งเศษอาหาร (음식물쓰레기) ของเขต Seocho-gu ค่ะ

ถุงขยะสำหรับทิ้งเศษอาหารจะมีสีแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค บางที่ก็จะมีสีฟ้าเหมือนของเขต Seocho-gu แต่บางที่ก็จะมีสีเหลืองหรือชมพูค่ะ ดังนั้นอย่าลืมตรวจสอบสีของถุงขยะที่ใช้ในพื้นที่ของทุกคนให้รอบคอบนะคะ!


food waste trash bag for seocho-gu (district) in seoul, south Korea


นอกจากนี้ก็ยังมีพื้นที่เฉพาะสำหรับการทิ้งขยะในอาคารที่พักอาศัย (อพาร์ตเมนต์, สำนักงาน ฯลฯ ) ด้วยนะคะ ดังนั้นอย่าลืมตรวจสอบนโยบายของอาคารที่เราอยู่อาศัยให้ละเอียดนะคะ

ในกรณีของอพาร์ทเมนท์ก็จะมีกำหนดวันสำหรับการทิ้งขยะที่สามารถรีไซเคิลได้เป็นสัปดาห์ละครั้ง ส่วนขยะทั่วไปหรือเศษอาหารทุกคนสามารถทิ้งไว้ตรงสถานที่ที่กำหนดเพื่อรอให้รถขยะมาเก็บไปตามวันที่เจาะจงได้เลยค่ะ

อย่างไรก็ตาม สำหรับที่อยู่อาศัยอื่น ๆ เช่น บ้านเดี่ยว ก็อาจจะไม่มีการกำหนดวันที่ตายตัวนะคะ ดังนั้นสำหรับใครที่เช่าบ้านอยู่ในเกาหลีก็ควรจะสอบถามเจ้าของบ้านเกี่ยวกับวิธีการทิ้งขยะ, สถานที่ทิ้งขยะ, และตารางเวลาสำหรับการทิ้งขยะให้ชัดเจนด้วยค่ะ



สำหรับสินค้าขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถกำจัดได้โดยง่าย เราก็สามารถติดต่อสำนักงานเขต (구청) เพื่อนัดมาเก็บขยะได้นะคะ โดยจะมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมค่ะ



การแยกขยะประเภทต่าง ๆ


กฎทั่วไปของขั้นตอนการทิ้งขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ที่ควรทำคือ ทำให้ว่างเปล่า -> ล้างให้สะอาด -> ดึงฉลากที่เป็นสติกเกอร์ออก -> ทำให้แห้ง -> ลดผิวสัมผัสให้มากที่สุด (แผ่ออก, แบออก) -> เรียงให้เป็นระเบียบ -> ทิ้งในสถานที่ที่กำหนดไว้อย่างเหมาะสม


general process of how to throw away recyclable products in korea (empty, rinse, sort)


1. กระดาษ (종이류)

ตามกฎทั่วไป ผลิตภัณฑ์กระดาษที่เปื้อนอาหารไม่สามารถรีไซเคิลได้ค่ะ โดยจะต้องนำไปทิ้งในถังขยะธรรมดาแทน แต่สำหรับหนังสือพิมพ์จะต้องแน่ใจว่าตัวกระดาษแห้งและแบน นอกจากนี้ก็อย่าลืมแยกใบปลิวโฆษณาหรือพลาสติกใด ๆ ที่อาจจะซ่อนอยู่ในหน้ากระดาษด้วยนะคะ เนื่องจากใบปลิวและพลาสติกจะต้องแยกออกมาเป็นขยะหมวดหมู่อื่น ๆ ค่ะ

สำหรับหนังสือหรือสมุด ก่อนทิ้งจะต้องดึงปกหนังสือทั้งหมดออกมาด้วยค่ะ สำหรับสมุดบันทึกที่มีสันแบบเกลียว ก็จะต้องถอดสันเกลียวออกและแยกไว้เป็นขยะในหมวดหมู่ที่เหมาะสมค่ะ

ส่วนถ้วยกระดาษหรือแก้วกระดาษต่าง ๆ ก็อย่าลืมตรวจสอบให้แน่ใจด้วยนะคะว่าถ้วยกระดาษทั้งหมดว่างเปล่า จากนั้นให้นำไปล้างด้วยน้ำสะอาดและรีดให้เรียบค่ะ 


flatten paper cup


สำหรับกล่องและกระดาษแข็ง อย่าลืมนำเทป, สติกเกอร์, และฉลากออกด้วยนะคะ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าตัวกล่องแบนและแห้ง จากนั้นให้วางซ้อน ๆ และมัดเข้าด้วยกัน แล้วนำไปทิ้งในบริเวณที่เหมาะสมค่ะ


2. กล่อง (종이팩) 

หมวดหมู่นี้ประกอบไปด้วย กล่องนม, ม้วนกระดาษเช็ดมือ, ม้วนกระดาษชำระ, และกล่องทิชชู่ค่ะ


image of seoul milk butty chocolate milk carton


หลักการเดียวกันกับการทิ้งกระดาษเลยค่ะ โดยจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่ากล่องทั้งหมดสะอาด และอย่าลืมนำวัสดุที่ไม่ใช่กระดาษ (เช่น พลาสติก) ออกด้วยนะคะ จากนั้นก็ทำกล่องให้แบน นำมากองและมัดรวมกันเพื่อกำจัดค่ะ


korean schematic of how to recycle paper cartons



3. ภาชนะพลาสติก (플라스틱 용기류)

พลาสติกมีหลายประเภท ดังนั้นเราจะแนะนำพลาสติกต่าง ๆ แยกกันนะคะ โดยพลาสติกอันดับแรกก็คือ "ภาชนะพลาสติก" นั่นเองค่ะ อาจจะเป็นภาชนะเครื่องดื่มพลาสติกหรือขวดผงซักฟอกที่เป็นพลาสติกก็ได้เช่นกันค่ะ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วภาชนะเหล่านี้มักจะมีสีค่ะ (มีหมวดหมู่แยกต่างหากสำหรับพลาสติกใส)

แน่นอนว่าใช้หลักการเดียวกันเลยค่ะ นั่นก็คือการ "ทำให้ว่างเปล่า -> ล้าง -> นำไปทิ้ง" นั่นเองค่ะ แต่ถ้ามีฉลากหรือสติกเกอร์ที่ทำจากวัสดุที่แตกต่างจากภาชนะ ก็อย่าลืมนำออกก่อนทิ้งด้วยนะคะ และหากไม่สามารถล้างภายในได้ (เช่น หลอดยาสีฟัน) ก็ให้ทิ้งในถังขยะปกติได้เลยค่ะ


korean schematic of how to recycle plastic containers

 


4. ไวนิล (비닐류)

ไวนิลเป็นพลาสติกอีกประเภทหนึ่งค่ะ ส่วนใหญ่จะหมายถึงถุงต่าง ๆ เช่น พลาสติกบางใสที่ใช้ห่อหุ้มอาหารหรือถุงพลาสติกนั่นเองค่ะ แต่ก็มีบางรายการที่ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของหมวดหมู่นี้ แต่ไม่สามารถรีไซเคิลได้เหมือนกันนะคะ ได้แก่ ถุงมือยาง, เสื่อ, สิ่งที่เปื้อนอาหาร, และผ้าคลุมโต๊ะ


korean schematic of how to recycle vinyls ie plastic bags



5. ขวดพลาสติกใส PET (투명페트병) 

PET (polyethylene terephthalate) คือวัสดุที่ใช้ทำขวดน้ำพลาสติกใส แต่ที่แยกออกมาเป็นหมวดหมู่ต่างหากเนื่องจากขวดประเภทนี้สามารถรีไซเคิลได้ง่ายกว่า และวัสดุมีคุณภาพสูงกว่านั่นเองค่ะ ขวดเหล่านี้สามารถนำไปใช้ทำเป็นเสื้อผ้า, รองเท้า, กระเป๋า, และสำลีก้อนได้ด้วยนะคะ


adidas shoes made from recycled plastic bottles


วิธีกำจัดพลาสติกใสประเภท PET ก็ง่ายมาก ๆ เลยล่ะค่ะ ก่อนอื่นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าภายในสะอาด นอกจากนี้หากฉลากทำจากพลาสติกชนิดอื่น ๆ ก็อย่าลืมนำออกก่อนทิ้งด้วยนะคะ ซึ่งการแยกฉลากพลาสติกก็จะช่วยเพิ่มอัตราการรีไซเคิลของขวดเหล่านี้นั่นเองค่ะ และถ้าทำให้ขวดแบนเรียบด้วยก็จะยอดเยี่ยมมาก ๆ เลยค่ะ เพียงแค่เปิดฝาแล้วบีบอากาศออกให้หมดเท่านั้นเอง


flatten clear PET water bottle


6. โฟมสีขาว (흰색 스티로폼류) 

หมวดหมู่นี้ยังรวมไปถึงบับเบิ้ล, แรป, หรือฟิลเลอร์ที่ใช้เพื่อป้องกันสินค้าในกล่องด้วยนะคะ กฎทั่วไปในการทิ้งก็คือ "ทำให้ว่างเปล่า -> ล้าง -> นำฉลากหรือสติกเกอร์ออก -> นำไปทิ้งในพื้นที่ที่กำหนด" นั่นเองค่ะ สำหรับสไตโรโฟม (Styrofoam) ที่ใช้ป้องกันผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (เช่น คอมพิวเตอร์, ทีวี, เครื่องใช้ในครัว ฯลฯ ) โดยปกติเราก็สามารถนำกลับไปคืนที่ร้านค้าที่เราซื้อมา จากนั้นทางร้านก็จะรีไซเคิลให้ค่ะ

สินค้าที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ ได้แก่ สไตโรโฟมที่มีสี และสไตโรโฟมที่ใช้ในการก่อสร้าง



7. ขวดแก้ว (유리병)

ขวดแก้วมักจะถูกนำกลับมาใช้ใหม่ค่ะ ขวดแก้วมี 2 ประเภทด้วยกัน คือ ขวดที่สามารถนำไปคืนที่ร้านเพื่อขอคืนเงินมัดจำ และขวด EPR (Extended Producer Responsibility) ค่ะ


schematic of glass bottles labeled for EPR glass bottles (recycle at home)


มีการทำเครื่องหมายขวดแก้ว EPR (แสดงในรูปด้านบน) และเราก็สามารถรีไซเคิลขวดประเภทนี้ได้ที่บ้านเลยค่ะ

ส่วนขวดที่สามารถนำไปคืนที่ร้านเพื่อขอคืนเงินมัดจำได้ก็คือขวดเครื่องดื่มที่มีการคิดราคาขวดรวมไปกับค่าเครื่องดื่มแล้วนั่นเองค่ะ โดยปกติแล้วจะมีค่าขวดอยู่ที่ 100 - 130 วอน หากนำขวดกลับไปคืนที่ร้านค้าที่ซื้อมา เราก็จะได้รับเงินคืนนั่นเองค่ะ


korean glass bottles labeled as part of empty bottle deposit system


กระบวนการกำจัดก็ทั่วไปเลยค่ะ คือต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าขวดไม่เสียหาย เพราะหากขวดแตกก็จะไม่สามารถนำมารีไซเคิลได้นะคะ จากนั้นก็ทำความสะอาดและนำฉลากหรือสติกเกอร์ออกค่ะ อย่าใส่ก้นบุหรี่ลงในขวดนะคะ มิฉะนั้นจะไม่สามารถรีไซเคิลได้ค่ะ

สำหรับเศษแก้วใด ๆ ให้ห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์แล้วทิ้งในถังขยะปกติ ส่วนผลิตภัณฑ์แก้วคริสตัล, หลอดไฟ, แจกัน, และเครื่องครัวก็ไม่สามารถรีไซเคิลได้เช่นกันนะคะ


korean schematic of life cycle of glass bottle in seoul


8. โลหะ (금속캔 및 고철류)


ของที่อยู่ในหมวดหมู่โลหะ ได้แก่ กระป๋องเครื่องดื่ม, กระป๋องอาหาร, ตะปู, สายโลหะ, อลูมิเนียมบริสุทธิ์ ฯลฯ วัสดุเหล่านี้หลังถูกรีไซเคิลจะกลายไปเป็นกระป๋องและเหล็กเส้นอื่น ๆ ค่ะ ส่วนกระบวนการกำจัดก็คล้าย ๆ ขยะในหมวดหมู่อื่น ๆ เลยค่ะ นั่นก็คือการตรวจสอบให้แน่ใจว่าโลหะนั้นสะอาดก่อนทิ้ง และอย่าลืมนำพลาสติก, ฉลาก, และสติกเกอร์ที่ไม่ได้ทำจากโลหะออกด้วยนะคะ

กระป๋องใด ๆ ที่มีก้นบุหรี่อยู่ข้างในไม่สามารถนำมารีไซเคิลได้นะคะ นอกจากนี้อลูมิเนียมฟอยล์ก็ไม่สามารถนำมารีไซเคิลได้เช่นกันค่ะ ส่วนกระป๋องบิวเทน (ใช้สำหรับเตาแก๊สแบบพกพา) และกระป๋องสเปรย์สามารถรีไซเคิลได้เมื่อว่างเปล่าเท่านั้น ดังนั้นจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้เจาะรูกระป๋องก่อนทิ้งด้วยนะคะ

อย่างไรก็ตาม หากต้องการทิ้งกระป๋องที่มีก๊าซเหลืออยู่ ก็มีถุงที่กำหนดให้ใช้ด้วยนะคะ โดยเราสามารถติดต่อสำนักงานในเขตของเราเพื่อรับถุงได้เลยค่ะ

 

butane portable gas burner with butane can


9. ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (폐전자제품)

หากต้องการทิ้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เราสามารถขอให้ร้านที่เราไปซื้อของใหม่มาช่วยรีไซเคิลผลิตภัณฑ์เก่าของเราได้ค่ะ ตัวอย่างเช่น หากเราซื้อ Macbook เครื่องใหม่ เราก็สามารถขอให้พนักงานร้าน Apple รีไซเคิล Macbook เครื่องเก่าของเราได้นั่นเองค่ะ

หรือจะไปทิ้งในสถานที่ที่รวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้เช่นกันนะคะ โดยเราต้องติดต่อไปที่สำนักงานเขตเพื่อสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานที่เหล่านั้นค่ะ และสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ที่ยากต่อการกำจัด (ตู้เย็น, ทีวี ฯลฯ ) เราก็สามารถติดต่อสำนักงานเขต (구청) เพื่อให้มารับไปทิ้งได้ โดยมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมค่ะ


cartoon of recycling pickup truck for large objects.


10. ขยะอื่น ๆ

มีขยะอื่น ๆ อีกมากมายที่ไม่ได้กล่าวถึงในหมวดหมู่ข้างต้น เราจะพาไปดูรายละเอียดกันค่ะ


green container filled with used batteries


  • ถ่าน, แบตเตอรี่ : มีสถานที่ที่กำหนดสำหรับการทิ้งถ่านหรือแบตเตอรี่โดยเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะอยู่ในร้านสะดวกซื้อค่ะ (เฉพาะถ่าน, แบตเตอรี่ของโทรศัพท์มือถือ)
  • เสื้อผ้า, ผ้า : มักจะมีถังขยะสำหรับเสื้อผ้าและผ้าโดยเฉพาะ ประเภทของผ้าที่สามารถรีไซเคิลได้แบบปกติ ได้แก่ เสื้อผ้า, กระเป๋า, รองเท้า, ผ้าม่าน, และพรม ส่วนผ้าที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ คือ กระเป๋าที่มีล้อเลื่อน (กระเป๋าเดินทาง), หมอน, และผ้าเช็ดตัว
  • น้ำมัน : น้ำมันปรุงอาหารเมื่อทำให้เย็นลงก็มีแนวโน้มที่จะแข็งตัวค่ะ สิ่งนี้อาจทำให้เกิดปัญหากับท่อประปาได้หากทิ้งน้ำมันลงอ่างล้างจาน ดังนั้นให้ทิ้งน้ำมันใส่กระป๋องหรือขวดแล้วทิ้งในถังขยะปกติแทนค่ะ


light bulbs with blue background and one on the far right lit


  • หลอดไฟ : ไม่สามารถรีไซเคิลหลอดไฟหรือ LED ที่แตกได้ ให้ห่อด้วยกระดาษแล้วทิ้งลงในถังขยะทั่วไปแทน ส่วนหลอดไฟที่ยังไม่บุบสลาย ก็มีสถานที่สำหรับการรีไซเคิลให้ทิ้งโดยเฉพาะ
  • ตาข่ายผลไม้ : ตาข่ายที่ใช้เก็บผลไม้หรือผัก สามารถรีไซเคิลเป็นพลาสติกได้ แต่ถ้ารู้สึกไม่แน่ใจก็สามารถทิ้งลงในถังขยะปกติได้เช่นกันค่ะ


tangerines wrapped with red fruit mesh


  • ซองน้ำแข็ง (Ice pack) : สามารถทิ้งซองน้ำแข็งลงในถังขยะทั่วไปได้


korean ice packs


ขอย้ำอีกครั้งว่า สิ่งใดก็ตามที่ไม่อยู่ในหมวดหมู่ที่สามารถรีไซเคิลได้ เราสามารถทิ้งลงในถังขยะทั่วไปได้เลยค่ะ


korean schematic of types of items that can go in regular trash


ตัวอย่างสิ่งของที่สามารถทิ้งลงในถังขยะทั่วไป ได้แก่ ตะเกียบไม้, แปรงสีฟัน, ผ้าอ้อม, ใบเสร็จ, สติกเกอร์, กระดาษห่อ, แคปซูลยา, เทป, รางปลั๊ก, กระดาษเคลือบ, สิ่งของที่เปื้อนอาหาร, และถุงมือยาง / ยางลาเท็กซ์

สำหรับขยะบางรายการก็จะมีถุง PP (polypropylene) สำหรับทิ้งโดยเฉพาะ ขยะเหล่านี้ ได้แก่ ของเล่น, ยาง, เชือกพลาสติก, กระจก, กระเบื้อง, กระเป๋า, วอลเปเปอร์, ผ้าห่ม, เสื่อ, และลูกบอล

การทิ้งสิ่งของข้างต้นในปริมาณเล็กน้อยนั้นเป็นเรื่องปกติ แต่หากมีปริมาณมากก็อาจจะต้องติดต่อไปที่สำนักงานเขตเพื่อขอรับถุง PP เพิ่มเติมค่ะ



ความรับผิดชอบต่อสังคม


แน่นอนว่าเมื่อมีการแยกขยะแบบเคร่งครัดแล้ว ก็ต้องมีนโยบายในการลดพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวเช่นกันค่ะ ใครที่เคยมาเกาหลีอาจจะเจอบ่อย ๆ ที่ร้านค้าส่วนใหญ่จะเรียกเก็บเงิน 100 วอนสำหรับถุงพลาสติก ดังนั้นผู้ซื้อจึงควรนำถุงผ้ามาเองค่ะ ทั้งประหยัดเงินและช่วยกันลดพลาสติกด้วยนะคะ


reusable tote bags containing groceries


ร้านแมคโดนัลด์บางแห่งในโซลก็ไม่มีหลอดพลาสติกให้ค่ะ


seoul mcdonalds tray informing customers that they no longer carry plastic straws


ร้าน Starbucks ในโซลจะมีหลอดกระดาษสำหรับเครื่องดื่มแทนหลอดพลาสติกค่ะ


korean starbucks pink dragonfruit drink with paper straw


นอกจากนี้ยังมีถังขยะมากมายที่เอาไว้ทิ้งผลิตภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิลได้ในพื้นที่สาธารณะด้วยนะคะ


designated trash cans for recycling (blue) and regular trash (green) in downtown seoul

designated recyclable trash cans for paper  in seocho, seoul, south korea


มีทั้งถังขยะสำหรับทิ้งกระดาษและพลาสติกใสค่ะ (PET)


recyclable cans in seocho, seoul, south korea for cans, bottles, and plastics



ถังขยะในเกาหลีอยู่ที่ไหน?

ที่มา: 파이낸셜 뉴스

 

แม้สถานที่มากมายในโซล เช่น ร้านกาแฟ, สถานีรถไฟใต้ดิน, และห้องน้ำสาธารณะ จะมีถังขยะรองรับอย่างดี แต่ตามข้างถนนกลับหาถังขยะได้ยากมาก ๆ เลยล่ะค่ะ! เคยมั้ยคะที่เดิน ๆ อยู่แล้วก็ไม่รู้จะทิ้งใบปลิวหรือทิชชู่ใช้แล้วตรงไหนดี เพราะว่าหาถังขยะไม่เจอเลยนั่นเอง!

นี่เป็นประเด็นที่คนเกาหลีก็เห็นด้วยมาก ๆ เลยล่ะค่ะ โดยเฉพาะในปี 2018 เมื่อรัฐบาลออกกฎหมายห้ามไม่ให้นำเครื่องดื่มหรืออาหารขึ้นไปทานบนรถโดยสารสาธารณะ ทำให้ผู้โดยสารหลาย ๆ คนพยายามจะหาที่ทิ้งแก้วน้ำก่อนจะขึ้นรถบัส แต่ว่าตรงป้ายรถบัสกลับไม่มีถังขยะค่ะ! กลายเป็นอะไรที่วุ่นวายมาก ๆ แถมยังมีหลายคนที่ทิ้งขยะไว้ตรงที่นั่งรอรถบัสเพราะว่าไม่มีทางเลือกด้วยล่ะค่ะ

ในปัจจุบันสามารถหาถังขยะแถวป้ายรถบัสได้อย่างง่ายดายแล้วค่ะ ดังนั้นปัญหาการทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทางจึงดีขึ้นมาก เห็นได้ชัดเลยใช่มั้ยละคะว่าการไม่มีถังขยะมันทำให้เกิดความไม่สะดวกขนาดไหน?



มีสาเหตุหลายประการที่ทำให้ไม่ค่อยมีถังขยะอยู่ข้างถนนค่ะ สาเหตุแรกเลยก็คือ ในย่านใจกลางเมือง เช่น ฮงแดและมยองดง จะมีคนเยอะมาก ๆ ดังนั้นการทิ้งขยะต่าง ๆ จึงค่อนข้างมั่วและไม่มีการแยกขยะค่ะ ทำให้เกิดปัญหาเรื่องกลิ่นและเพิ่มค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะให้มากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ เนื่องจากมีจำนวนครอบครัวที่นำขยะในบ้านมาทิ้งที่ถังขยะสาธารณะมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยไม่มีการแยกขยะ ทำให้รัฐบาลท้องถิ่นคิดว่าการตั้งถังขยะไว้ข้างถนนเป็นปัญหานั่นเองค่ะ

อย่างไรก็ตาม เพื่อแก้ปัญหาการทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทางที่เริ่มร้ายแรงขึ้นเรื่อย ๆ การเพิ่มจำนวนถังขยะสาธารณะก็เป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ เลยล่ะค่ะ แต่ผู้ที่ทิ้งขยะก็จะต้องปฏิบัติตามมารยาทที่ดีด้วยเช่นกันนะคะ



ค่าปรับสำหรับการทิ้งขยะ


ค่าปรับสำหรับการทิ้งขยะอย่างผิดกฎหมายอาจจะแตกต่างกันเล็กน้อยในแต่ละภูมิภาค แต่โดยทั่วไปจะมีดังต่อไปนี้

  • ทิ้งก้นบุหรี่ กระดาษชำระ ฯลฯ ลงบนถนน: 50,000 วอน
  • ทิ้งขยะที่ใช้ในครัวเรือนนอกสถานที่ที่กำหนดไว้: 100,000 วอน
  • ทิ้งขยะโดยใช้ถุงพลาสติกทั่วไป แทนการใช้ถุงทิ้งขยะที่กำหนดไว้: 200,000 วอน (สำคัญ!!)

จะเห็นได้ว่าค่าปรับสำหรับการทิ้งขยะอย่างผิดกฎหมายในเกาหลีนั้นสูงมาก ๆ เลยใช่มั้ยละคะ? และเราก็คิดว่ามันคงจะเป็นเรื่องยากมาก ๆ สำหรับคนต่างชาติที่ไม่ทราบตำแหน่งของถังขยะหรือไม่ทราบเกี่ยวกับระบบถุงขยะในเกาหลี

อย่างไรก็ตาม อย่างที่เราได้อธิบายไว้ข้างต้น ถุงขยะสำหรับทิ้งขยะชนิดต่าง ๆ สามารถหาซื้อได้อย่างง่ายดายและมีราคาถูกมาก ๆ ที่ร้านสะดวกซื้อใกล้บ้าน ดังนั้นก็อย่าลืมใช้ถุงขยะในการทิ้งขยะกันด้วยนะคะ~!



เว็บไซต์ที่เป็นประโยชน์


หากทุกคนต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการรีไซเคิลขยะของเกาหลี หรือนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมทั่วไปในโซล ก็สามารถเข้าไปดูในเว็บไซต์ต่อไปนี้ได้เลยนะคะ


SUSA (Seoul Urban Solutions Agency)


Seoul Solutions

seoul solutions, a website sharing information about seoul's environmental policies


City Of Seoul

climate and environment section of the city of seoul webpage


Ministry Of The Environment

screenshot of homepage with options drop down menu of korea's ministry of the environmental webpage




เป็นยังไงกันบ้างคะกับคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการรีไซเคิลขยะของประเทศเกาหลี ยิ่งอ่านก็ยิ่งมีข้อมูลและข้อกำหนดมากมายเลยใช่มั้ยละคะ? แต่เพราะสังคมเคร่งครัดแบบนี้ก็เลยทำให้ประเทศเกาหลีสามารถแยกขยะและรีไซเคิลขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเองค่ะ     


🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube 

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี

ยอดเข้าชมมากที่สุด

LoadingIcon
ยอดเข้าชมมากที่สุด