logo
เขต

ยูทูปเบอร์เกาหลีถูกไล่ออก เพราะพูดว่ากิมจิเป็นอาหารเกาหลี!

ยูทูปเบอร์เกาหลีถูกเอเจนซีของประเทศจีน ยกเลิกสัญญาทันทีหลังจากที่พูดว่า กิมจิ และ ซัม เป็นอาหารของเกาหลี!

마타티카
3 years ago

สวัสดีค่ะทุกคน! พวกเรา Creatrip ศูนย์รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวเกาหลีที่อัพเดทโดยคนเกาหลีในทุก ๆ วัน


#ข่าวเกาหลี #อาหารเกาหลี

#กิมจิ #ซัม #ยูทูปเบอร์


กลายเป็นประเด็นร้อนอย่างต่อเนื่องกับเรื่องของกิมจิและซัม เมื่อยูทูปเบอร์ชื่อดังจากประเทศจีนอ้างว่าทั้ง 2 เมนูเป็นอาหารจีน และล่าสุดยูทูปเบอร์เกาหลีที่ทำรายการมอกบัง (การกินโชว์) ถูกเอเจนซี่จากประเทศจีนยกเลิกสัญญาเพราะเธอพูดว่า "กิมจิและซัมเป็นอาหารเกาหลี"

ทำให้คนเกาหลีตัดสินใจลุกขึ้นมาปกป้องวัฒนธรรมทางอาหารของประเทศตัวเอง


🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube 

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ข่าวเกาหลี


ยูทูเบอร์เกาหลีถูกไล่ออกเพราะพูดว่ากิมจิเป็นอาหารเกาหลี!

Cr. The Korea Herlard 


เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาเอเจนซี่จากประเทศจีนที่ทำรายการมอกบังหรือ "การกินโชว์" ได้ยกเลิกสัญญากับยูทูปเบอร์ชาวเกาหลีชื่อว่า "Hamzy" หลังจากที่เธอได้พูดว่า "กิมจิและซัม" เป็นอาหารเกาหลี ซึ่งเรื่องเกิดขึ้นจากวีดิโอที่เธอได้รับประทานซุปหอยทากห่อผัก หรือที่เรีกว่า "ซัม" เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา

โดยก่อนหน้านั้นมียูทูปเบอร์ชาวจีนชื่อว่า Dianxi Xiaoge ก็ได้ถูกเนติเซนชาวเกาหลีวิพากวิจารณ์หลังจากที่เขาอัปโหลดวิดิโอตอนกิน "ซัม" ซึ่งความจริงแล้วประเทศจีนก็มีวิธีการกินแบบห่อผักซึ่งก็เป็นวัฒนธรรมที่มีในหลายประเทศในเอเชีย แต่ในวีดิโอเขาได้กินเนื้อ, พริกและกระเทียมห่อผัก ซึ่งดูคล้ายคลึงกับการกิน "ซัม" ของเกาหลี

และมีการบรรยายว่า "ผมจะคอยอัปโหลดวิดิโอไลฟ์สไตล์และการกินอาหารสไตล์ยูนนานเรื่อยๆ" ต่อมา Hamzy ได้กด like ข้อความหนึ่งที่เขียนว่า "โอ๊ย! หลังจากดูวีดิโอที่คนจีนบอกว่าซัมเป็นอาหารของพวกเขา ฉันรู้สึกโกรธขึ้นมาเลย"


 ภาพจากช่องของ Dianxi Xiaoge  Cr. The Korea Herlard 


หลังจากที่ข้อความนั้นถูกแปลเป็นภาษาจีนก็เกิดกระแสด้านลบเกิดขึ้น เนื่องจากมีการแปลบางคำเป็นคำสบทที่ดูหยาบคายมากขึ้น ด้าน Hamzy ได้ออกมาขอโทษผ่านทาง Weibo livestream และตอบคำถามคนดูพร้อมอธิบายว่าในความคิดเธอซัมและกิมจิเป็นอาหารเกาหลี

จากคำตอบนี้ทำให้เกิดประเด็นเป็นรอบที่ 2 จนนำไปสู่การถูกยกเลิกสัญญาจากเอเจนซี่ของประเทศจีน โดยเอเจนซี่ระบุว่า Hamzy "ดูหมื่นประเทศจีน" ด้าน Hamzy ได้ออกมาเขียนบนช่อง Youtube ของเธอว่า "ถ้าคนจีนโกรธเพราะการสื่อสารที่ไม่ถูกต้องหรือการที่ใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสมฉันจะขอโทษ" 

และยังอัปโหลดต่ออีกว่า "แต่ถ้าฉันต้องพูดว่ากิมจิเป็นอาหารจีนเพื่อให้ได้ทำงานที่จีน ฉันก็จะไม่ทำงานที่นั้นอีกต่อไป" ความจริงแล้ว "กิมจิ" เคยถูกยกขึ้นมาเป็นประเด็นถกเถียงกันระหว่างประเทศจีนและเกาหลีแล้วเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา


ภาพการทำกิมจิจากช่อง Li Ziqi Cr. The Korea Herald


โดยตอนนั้นจีนอ้างว่าได้รับใบสิทธิบัตรรับรองสำหรับ "Pao Cai" ซึ่งรวมถึงกิมจิด้วย แต่ในความจริงใบรับรองดังกล่าวระบุไว้ชัดเจนว่า "ไม่ได้หมายรวมถึงกิมจิ" นอกจากนั้นยังมีอีกหนึ่งยูทูปเบอร์ชื่อดังของจีนชื่อว่า "Li Ziqi" ก็เคยถูกเนติเซนชาวเกาหลีวิพากวิจารณ์ในช่วงต้นเดือนที่มาเช่นกัน

หลังจากที่เธออัปโหลดวีดิโอการทำกิมจิ โดยใช้แฮชเท็กว่า #ChineseCuisine #ChineseFood แต่ก็มีหลายคนอ้างว่าสิ่งที่เธอทำเป็นสิ่งที่เรียกว่า pao cai ซึ่งต่างจากกิมจิทั้งวิธีการทำและวัตถุดิบ แต่ในวีดิโอนั้นคล้ายคลึงกับการทำกิมจิอย่างมาก

คณะกรรมาธิการการเมืองและกฎหมายกลางของพรรคคอมมิวนิสต์จีนโพสต์แสดงความคิดเห็นเพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์ว่า "ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเป็นเพราะคนเกาหลีขาดความภูมิใจในวัฒนธรรมของตัวเอง ถ้าพวกเขามั่นใจก็จะไม่มีอะไรทำให้พวกเขาหวั่นไหวได้ แต่ถ้าไม่ก็คงจะเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นอีกเรื่อยๆ"



Cr. The Korea Herlard


ขณะเดียวกันซอ คยองดอกศาสตราจารย์ของ Sungshin Women's University ซึ่งเป็นที่รู้จักในด้านการส่งเสริมวัฒนธรรมเกาหลีในต่างประเทศได้วางโฆษณาใน New York Times ทั้งในสหรัฐอเมริกาและต่างประเทศเมื่อวันจันทร์โดยแสดงภาพกิมจิพร้อมคำบรรยายใต้ภาพ "กิมจิของเกาหลีสำหรับทุกคน" และมีการเขียนประวัตศาสตร์เกี่ยวกับกิมจิด้วย 

เธอเล่าว่า "ในการจัดทำโฆษณานี้ฉันได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านโฆษณาและกิมจิหลายคน "แทนที่จะตอบสนองต่อคนจีน" ฉันต้องการบอกข้อเท็จจริงที่ถูกต้องของกิมจิกับผู้คนทั่วโลก" และยังบอกอีกว่าโฆษณาชิ้นนี้เกิดขึ้นได้ด้วยการสนับสนุนจากองค์กรต่างๆโดยที่เธอไม่ต้องอธิบายใดๆเลย

ที่มา The Korea Herlard



🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube 

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ข่าวเกาหลี

 

โพสต์ที่น่าสนใจ
ยอดเข้าชมมากที่สุด

ยอดเข้าชมมากที่สุด