logo
เขต

วัฒนธรรมพ่อห่าน (기러기 아빠)

วัฒนธรรมพ่อห่าน (기러기 아빠) ของเกาหลีคืออะไร?

마타티카
2 years ago

ซีรีส์เกาหลี

สวัสดีค่ะทุกคน! พวกเรา Creatrip ศูนย์รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวเกาหลีที่อัพเดทโดยคนเกาหลีในทุก ๆ วัน


#วัฒนธรรมเกาหลี #คนเกาหลี

#เรียนต่อต่างประเทศ 

#เรียนต่อเกาหลี


ทุกคนเคยได้ยิน "วัฒนธรรมพ่อห่าน (기러기 아빠)" หรือเปล่า? ว่ากันว่าวัฒนธรรมนี้เกิดขึ้นที่เกาหลีเป็นที่แรกๆและเป็นวัฒนธรรมที่นิยมทำกันเฉพาะที่เกาหลีเท่านั้น? เริ่มสงสัยกันแล้วใช่ไหมว่าวัฒนธรรมพ่อห่านของเกาหลีคืออะไรกันนะ?   



 🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube 

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี


วัฒนธรรมพ่อห่าน (기러기 아빠)

วัฒนธรรมพ่อห่าน (기러기 아빠) คืออะไร?

วัฒนธรรมเกาหลี

cr. zum news


เชื่อว่าหลายคนคงไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับวัฒนธรรมพ่อห่าน (기러기 아빠) ของเกาหลีมาก่อนแน่ๆ คำว่า "พ่อห่าน" (기러기 아빠) เป็นคำที่ใช้อธิบายของครอบครัวเกาหลีที่ผู้เป็นพ่อต้องใช้ชีวิตในเกาหลีเพียงลำพังเพื่อหาเงินส่งไปให้ลูกๆและภรรยาที่อยู่ต่างประเทศค่ะ

เปรียบเสมือนห่านที่อาศัยในที่ราบลุ่ม, ทะเลสาบ, พื้นที่ชุ่มน้ำและทุ่งนา ขณะที่ตัวเมียกำลังฟักไข่ตัวผู้จะทำหน้าที่ดูแลและคอยระวังบริเวณรอบๆ และลูกห่านจะได้รับการคุ้มครองจากแม่ห่านจนถึงฤดูร้อน จากนั้นจึงออกจากรังในฤดูใบไม้ร่วง และจะทำการอพยพต่อไป


วัฒนธรรมเกาหลี

cr. hani


ซึ่งแตกต่างจากวัฒนธรรมพ่อห่านของเกาหลีที่ต้องอยู่เพียงลำพัง ในขณะที่ลูกและภรรยาอพยพไปอยู่ที่ต่างประเทศเพื่อชีวิตที่ดีกว่าค่ะ


วัฒนธรรมพ่อห่านเกิดขึ้นได้อย่างไร?

ครอบครัวเกาหลี

cr. nocutnews


วัฒนธรรมพ่อห่านเกิดขึ้นตั้งแต่กลางทศวรรษ 1990 ในกลุ่มคนชนชั้นกลางอายุประมาณ 30 - 40 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นครอบครัวชนชั้นกลาง โดยมีสาเหตุเกิดจากระบบการศึกษาที่บิดเบี้ยวและปัญหาด้านการศึกษาของเกาหลีในขณะนั้น ทำให้สภาพแวดล้อมต่างๆไม่เอื้ออำนวยต่อการเรียนของเด็ก

เพื่อให้ลูกๆมีสภาพแวดล้อมทางการศึกษาที่ดีขึ้น จึงมีคนเกาหลีจำนวนหนึ่งเริ่มส่งลูกของพวกเขาไปเรียนต่อที่ต่างประเทศ ที่ประเทศที่เจริญมากกว่า ซึ่งอาจจะเริ่มส่งไปเรียนตั้งแต่ชั้นประถม มัธยมต้น และมัธยมปลาย โดยหวังว่าลูกๆจะสามารถพูดภาษาอังกฤษได้เหมือนเจ้าของภาษาค่ะ


ครอบครัวเกาหลี

cr. SBS


แต่การที่จะส่งลูกที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะไปอยู่ต่างประเทศคนเดียวทำให้พ่อแม่มีความกังวลค่ะ ดังนั้นทางครอบครัวจึงต้องส่งแม่ไปต่างประเทศเพื่อดูแลลูกๆของเขาด้วย โดยเหลือไว้แต่พ่อที่ต้องทำงานเพื่อช่วยเหลือทางด้านการเงินของครอบครัวค่ะ 

จากสถิติเมื่อปี 2007 พบว่ามีเด็กชั้นประถมจำนวน 12,341 คนที่ไปเรียนต่อต่างประเทศซึ่งประเทศที่เด็กถูกส่งไปมากที่สุดคืออเมริกา นอกจากนั้นประเทศแคนนาดายังเป็นอีกหนึ่งประเทศที่พ่อแม่เกาหลีนิยมส่งลูกไปเรียนต่อมากที่สุดเช่นกันค่ะ


ปัญหาของพ่อห่าน

ปัญหาด้านการใช้ชีวิต

ทำงานเกาหลี


ครอบครัวที่มีพ่อห่านส่วนใหญ่ เป็นครอบครัวฐานะปานกลางดังนั้นแหล่งรายได้เดียวที่มีก็คือ "คุณพ่อ" และค่าใช้จ่ายทั้งค่าเล่าเรียน, ค่าที่พักและค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่ต่างประเทศไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสำหรับผู้ที่มีรายได้เพียงช่องทางเดียวค่ะ

ดังนั้นคุณพ่อเกาหลีที่ส่งลูกและภรรยาไปอยู่ต่างประเทศมักจะเลือกใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก โดยอาศัยที่ห้องเช่าขนาดเล็กๆและกินอาหารราคาถูกเพื่อนำเงินเกือบทั้งหมดส่งไปให้ลูกๆที่ต่างประเทศ 


ปัญหาการหย่าร้าง

ปัญหาหย่าร้าง

cr. MBC


บรรดาคุณพ่อเกาหลีที่ใช้ชีวิตแบบพ่อห่านมักบ่นว่า "ฉันอยู่ไปเพื่ออะไรก็ไม่รู้" เพราะพวกเขาถูกทอดทิ้งมาเป็นเวลานานในสภาพแวดล้อมที่ไม่รู้สึกถึงความผูกพันในครอบครัว หลายครอบครัวได้เจอสมาชิกครอบครัวเพียงปีละ 1-2 ครั้งเท่านั้น ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้คุณพ่อเกาหลีที่ถูกทิ้งให้อยู่ตามลำพังหลายคนต้องการที่จะหย่าค่ะ 

โดยพวกเขากล่าวว่า รู้สึกว่าความผูกพันทางอารมณ์ได้หายไปเนื่องจากต้องแยกกันอยู่เป็นเวลานานและขาดติดต่อ โดยเมื่อปี 2015 เคยมีกรณีที่ศาลยอมรับคำร้องขอหย่าจากชายอายุ 50 ปีซึ่งเป็นพ่อห่านมานาน 8 ปีเพื่อเลี้ยงดูภรรยาและลูกๆ ของเขาที่อยู่ต่างประเทศค่ะ


โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า


เมื่อต้องใช้ชีวิตอยู่คนเดียวเป็นเวลานาน ประกอบกับต้องทำงานอย่างหนักเพื่อส่งเงินจำนวนมากไปให้ครอบครัวที่ต่างประเทศ ทำให้การใช้ชีวิตด้วยความกดดันในเกาหลีของคุณพ่อห่านเป็นเรื่องที่น่าเศร้ามากๆ พ่อบางคนบอกว่าทุกวันเขาเอาแต่คิดว่าเมื่อไหร่ชีวิตแบบนี้จะจบลงซักที? เมื่อไหร่จะได้เจอครอบครัวซักที?

ด้วยความเครียดเหล่านี้จึงไม่แปลกเลยที่คุณพ่อห่านจะต้องเจอกับปัญหาโรคซึมเศร้า หลายคนเลือกดื่มแอลกอฮอล์เพื่อคลายเครียดซึ่งก็ไม่ได้ช่วยอะไรแต่กลับทำให้สภาพจิตใจและร่างกายแย่ลง และที่เกาหลีก็มีข่าวการฆ่าตัวตายของคุณพ่อห่านให้เห็นอยู่บ่อยๆค่ะ


สถานการณ์ของพ่อห่านในปัจจุบัน?

มหาลัยเกาหลี

cr. 대학저널


ปัจจุบันจำนวนพ่อห่านในเกาหลีลดลงเรื่อยๆ หลังจากวิกฤตการเงินโลกเมื่อปี 2008 จำนวนเด็กเกาหลีที่ถูกส่งไปเรียนต่อต่างประเทศที่กลับมาเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยในเกาหลีค่อยๆเพิ่มขึ้น เป็นเพราะจำนวนนักศึกษาที่ไปเรียนต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมาก ความนิยมของการไปเรียนต่อในต่างประเทศจึงลดลง และจำนวนงานในต่างประเทศทั้งที่สหรัฐอเมริกาก็ลดลงด้วยค่ะ

นอกจากนั้นมหาวิทยาลัยต่างๆเริ่มเพิ่มจำนวนในการรับนักศึกษาที่มาจากต่างประเทศเพื่อเข้าเรียนโปรแกรมนานาชาติมากขึ้น ทำให้เริ่มได้รับความสนใจจากบรรดาผู้ปกครอง ตั้งแต่นั้นมาจึงเกิดรูปแบบการเข้าเรียนใหม่โดยการส่งลูกๆไปเรียนต่อในโรงเรียนนานาชาติในประเทศแถบเอเชีย 3 ปีและจากนั้นก็กลับมาเรียนมหาวิทยาลัยในเกาหลีค่ะ

นอกจากนั้นในประเทศเกาหลีใต้ก็มีโรงเรียนนานาชาติเกิดขึ้นจำนวนมาก ทำให้พ่อแม่ที่ต้องการให้ลูกได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษตั้งแต่อายุน้อยๆมีทางเลือกมากขึ้น และทำให้ตั้งแต่ปี 2011 อัตราการแข่งขันของเด็กเกาหลีที่ไปต่อในต่างประเทศในมหาวิทยาลัยระดับต้นๆของเกาหลีเพิ่มขึ้นจาก 10 เป็น 30 : 1 ค่ะ


พ่อนกชนิดอื่นๆ?

นก


นอกจากพ่อห่าน (기러기 아빠) แล้วตอนนี้ที่เกาหลียังมี พ่อนกอินทรีย์ (독수리 아빠) , พ่อนกเพนกวิน (펭귄 아빠) , พ่อนกกระจอก (참새 아빠) โดยมีนิยามคือ

พ่อนกอินทรีย์ (독수리 아빠) : คุณพ่อจากครอบครัวที่มีฐานะทางการเงินดี สามารถบินไปต่างประเทศเพื่อเจอครอบครัวได้อย่างตามใจชอบ

พ่อนกเพนกวิน (펭귄 아빠) : คุณพ่อจากครอบครัวที่มีฐานะการเงินที่มีปัญหา ทำให้การบินไปเยี่ยมครอบครัวที่ต่างประเทศเป็นเรื่องยาก จึงจำเป็นต้องใช้ชีวิตอยู่ที่เกาหลีอย่างลำบากบ้าง สบายบ้างสลับไปสลับมา

พ่อนกกระจอก (참새 아빠) : คุณพ่อจากครอบครัวต่างจังหวัดที่ส่งลูกๆและภรรยามาอยู่ที่โซลหรือแถบคังนัม เพื่อเรียนโรงเรียนดังๆ ซึ่งตัวเองต้องอยู่แยกกับครอบครัวเพื่อจะทำงานหาเงิน



นี่ก็คือวัฒนธรรมพ่อห่าน (기러기 아빠) ของคนเกาหลี ทุกคนคิดว่าการที่คุณพ่อต้องยอมเสียสละทั้งชีวิตเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของลูกๆแบบนี้ เป็นทางเลือกที่ดีจริงๆหรือเปล่าคะ? แสดงความคิดเห็นกันได้ค่ะ


 🤞🏻Subscribe พวกเรา Creatrip บน Youtube 

Creatrip Instagram
instagram.com/creatrip.thailand

🎈ช้อปปิ้ง|สั่งซื้อสินค้าเกาหลี


ยอดเข้าชมมากที่สุด

ยอดเข้าชมมากที่สุด